ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049576 จอดรถยนต์ขวางทางเข้าออกข้าราชการบำนาญ11 กันยายน 2556

    คำถาม
    จอดรถยนต์ขวางทางเข้าออก

    กราบเรียนอาจารย์มีชัย

             สืบเนื่องจากหัวข้อคำถามที่ 049404 ถนนหน้าของกระผมเจ้าของโครงการได้ยกที่ดินส่วนถนนให้กับเทศบาลไว้แล้ว  ขอเรียนเพิ่มเติมว่ารถยนต์ที่มาจอดขวางบริเวณหน้าบ้านของกระผม   กระผมไม่สามารถนำรถยนต์ออกจากบ้านได้เลย   ถ้าผู้จอดรถขวางไม่ขยับรถที่ขวาง  หากกระผมนำรถออกก็ต้องขับรถชนประการเดียว   มันดูเหมือนกระผมถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ

               ถนนหน้าบ้านของกระผมสามารถเทียบเคียง คำว่า"สาธารณสถาน" กับฎีกาที่ 1908/2518   ได้หรือไม่ครับ

              "จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 "

    คำตอบ
    เมื่อถนนนั้นเป็นถนนสาธารณะ กรณีก็อาจเข้าข่่าย มาตรา ๓๙๗ ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กันยายน 2556