ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049604 ไทยพลัดถิ่นคนทะเบียน26 กันยายน 2556

    คำถาม
    ไทยพลัดถิ่น

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพอย่างสูง

           ผมมีปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตเรียนถามเพื่อขอความกระจ่างจากท่าน กล่าวคือ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕ กำหนดนิยามของคำว่า "คนไทยพลัดถิ่น หมายความว่าผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นโดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีตซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง" ประเด็นคำถามได้แก่ ข้อความที่ว่า "ผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน" นั้น หมายความว่าอย่างไรครับ โดยเวลานี้มีความเข้าใจเป็นสองฝ่ายคือ

           ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่า ผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ก่อนหน้านั้นทุกประการ คือ ๑. มีเชื้อสายไทย ๒. เป็นคนในบังคับของประเทศอื่นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย ๓. ไม่ได้ถือสัญชาติอื่น ๔. อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย ๕. มีวิถีชีวิตเป็นคนไทย ๖. ได้รับการจัดทำทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ครม.กำหนด ดังนั้น ถ้าผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบตาม ๑ - ๖ ก็ไม่ใช่คนไทยพลัดถิ่น

           ฝ่ายที่สองเห็นว่า ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มีเชื้อสายไทยเพราะเป็นหัวใจของเรื่องนี้ ส่วนคุณสมบัติอื่นไม่จำเป็นต้องมีให้ครบถ้วนก็ได้ เพราะถ้าจะต้องมีให้ครบก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อความดังกล่าวนั้น โดยยกตัวอย่างกลุ่มคนเชื้อสายไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอดีตคนไทยที่เดินทางเข้าไปทำมาหากินในพม่าตั้งแต่ราวปี พ.ศ.๒๔๓๗ ต่อมาเมื่อมีการสู้รบกันในพม่า คนกลุ่มนี้ก็เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย (เข้ามาก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๙) และถูกราชการไทยบันทึกจัดทำทะเบียนว่าเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย ซึ่งหากจะต้องใช้เกณฑ์เรื่องการตกเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย กลุ่มคนเชื้อสายไทยที่อำเภอแม่สอด ก็จะไม่ใช่คนไทยพลัดถิ่นตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕

           จึงอยากเรียนถามความเห็นของท่านอาจารย์ครับว่า ข้อความ "ผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน" ตามนิยามคำว่าคนไทยพลัดถิ่นนั้น น่าจะมีความหมายอย่างไร เพราะถ้าจะให้ถามผู้รักษาการกฎหมายฉบับดังกล่าวก็คงเป็นคำตอบของเจ้าหน้าที่ที่เสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีมากกว่าครับ ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ   

    คำตอบ

    ข้อความสำคัญอยู่ตรงที่ "ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"  ตราบใดที่ยังไม่มีกฎกระทรวงกำหนด เถียงกันไปก็ไม่ได้เรื่อง  เมื่อมีกฎกระทรวงกำหนดแล้ว ก็ไม่ต้องเถียงกัน เพราะกฎกระทรวงกำหนดอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กันยายน 2556