ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050546 ปรึกษาเรื่องการเตรียมการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบิดามารดาลูกสาวคนหนึ่ง9 มีนาคม 2558

    คำถาม
    ปรึกษาเรื่องการเตรียมการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบิดามารดา

    เรียน อาจารย์มีชัย

    ขอรบกวนปรึกษาอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินของบิดามารดานะคะ

    ที่บ้านมีพี่น้อง 6 คน ผู้ชาย 2 คนมีครอบครัวแล้ว ผู้หญิง 4 คน ไม่ได้แต่งงาน พ่อแม่อายุกว่า 80 ปีแล้ว ยังคงทำงาน สุขภาพโดยรวมค่อนข้างแข็งแรง แต่ประเด็นคือท่านเป็นคนจีนหัวโบราณ รักลูกชายมากกว่าลูกสาว (มากๆ) พ่อแม่ทำงานหนักมาตลอดชีวิตแต่ไม่ค่อยได้ใช้ ท่านเก็บเงินเก่ง ประหยัด มัธยัสถ์ ที่ผ่านมาลูกสาวไม่เคยมีส่วนรู้เห็นว่าท่านมีทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าท่านน่าจะมีทรัพย์สินอยู่พอสมควร เท่าที่ทราบ น้องชายคนเล็กมีชื่อเป็นเจ้าของและเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินของพ่อแม่อยู่บางรายการ เช่นอาคารพาณิชย์ บัญชีเงินฝากในธนาคารและกองทุนรวมต่างๆ

    เรื่องเงินทองเป็นประเด็นอ่อนไหวมากในครอบครัวนี้ เราเลยไม่เคยพูดเรื่องนี้กันเลย เพราะเกรงพ่อแม่คิดว่าเราจะไปอยากได้อยากมีของท่าน ค่อนข้างทำใจกันแล้วว่า ถ้าท่านอยากจะยกมรดกส่วนใหญ่ให้ลูกชายก็คงเป็นสิทธ์ของท่าน เราไม่รู้เลยว่าพ่อแม่เตรียมการอะไรไว้บ้างรึเปล่า รู้แต่ว่าน้องชายเป็นคนที่พ่อแม่รักมากที่สุดและที่ผ่านมาท่านก็ยกทรัพย์สินให้เป็นชื่อน้องชายไปบางส่วนแล้ว แม้แต่พี่สาวอีกคนที่ทำงานหนักและดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด แต่ยังก็ไม่เคยรับรู้รับทราบเรื่องทรัพย์สินที่แท้จริงของท่านแต่อย่างใด ลูกสาวคนอื่นๆ ไม่ทราบอะไรเลย

    ในกรณีเช่นนี้ ขอเรียนปรึกษาอาจารย์ว่า

    1)      ลูกสาวพอจะทำอะไรได้บ้างในกรณีเช่นนี้ เราควรต้องเตรียมการอย่างไรบ้างหรือไม่ แต่จะไปพูดคุยโดยตรงกับท่านก็ค่อนข้างยากเต็มที

    2)      ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ทำพินัยกรรม หรือทำพินัยกรรมแต่ทรัพย์สินส่วนใหญ่ไปอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง ในฐานะลูกมีสิทธิ์ขอความยุติธรรมทางกฎหมายในภายหลังได้บ้างหรือไม่

    3)      คิดว่าพ่อแม่น่าจะมีเงินฝากในธนาคารและกองทุนรวมอยู่พอสมควร น้องชายคนเล็กมีส่วนรู้เห็นและมีชื่อร่วมบัญชีบ้าง แต่คิดว่าก็อาจรู้ไม่หมด เงินฝากธนาคารหรือกองทุนรวมที่น้องขายเป็นชื่อเจ้าของบัญชีร่วม จะเป็นของน้องชายโดยปริยายในภายหลังใช่หรือไม่ แต่เงินฝากในส่วนที่ไม่มีใครรู้เห็นจะเป็นอย่างไร

    4)      มรดกที่น้องขายได้รับ น้องสะใภ้จะมีส่วนได้รับครึ่งหนึ่งใช่หรือไม่ ทายาทโดยตรงมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรในส่วนนี้ได้บ้างหรือไม่

    เคยคิดว่าเราไม่ควรต้องไปใส่ใจอะไรในเรื่องนี้ ของพ่อแม่ทำมาก็เป็นสิทธิ์ของท่าน ท่านให้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่มาคิดดูอีกทีแล้ว บางทีเราก็ควรมีการเตรียมการหรือศึกษาหาความรู้อะไรไว้บ้าง หน้าเพจของอาจารย์มีประโยชน์สำหรับการเริ่มต้นมากเลยค่ะ แต่ยังไม่เจอกรณีที่คล้ายกัน  ยังไงขอรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ค่ะ 

    คำตอบ

    - ทำได้อย่างเดียว ก็คือลองพูดขอความเห็นใจจากพ่อแม่

    - ไม่ได้ เพราะถ้าท่านทำพินัยกรรม การก็ต้องเป็นไปตามพินัยกรรมและถือว่าเป็นธรรมแล้ว  ทรัพย์สินของท่าน ๆ จะยกให้ใครย่อมเป็นสิทธํิของท่าน แต้่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ อะไรที่ยังไม่ได้ยกให้ใครไป ก็ต้องนำมาแบ่งกันในหมู่ลูก ๆ กับแม่ คนละเท่า ๆ กัน

    - อะไรที่เป็นชื่อของน้องชาย ก็แปลว่าตกเป็นของน้องชายไปแล้ว อะไรที่ยังไม่ได้อยู่ในชื่อเขา ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ทำพินัยกรรม ก็นำมาแบ่งกัน

    - อะไรที่เป็นของน้องชาย ก็เป็นของน้องชาย หากได้มรดกมาอีกก็เป็นของน้องชาย  ไม่ได้ตกไปยังสะไภ้ แต่ในฐานะผัวเมียกัน ถ้าน้องชายตายก่อน ทั้งหมดก็จะตกไปยังสะไภ้และลูกของเขา

       ครอบครัวจีน มักจะเป็นอย่างนี้ เพราะนึกถึงแต่ว่าลูกชายสืบสกุล มีลูกก็จะสืบสกุลต่อไป มีอะไรจึงยกให้หมด ส่วนลูกสาวก็ถือว่าจะไปได้จากครอบครัวของสามี แม้จะเป็นความคิดที่ไม่น่าจะถูกค้อง แต่จะทำอย่างไรได้ เป็นความเชื่ออย่างนั้น เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ดูถึงตอนที่ลูกชายตาย ว่าทรัพย์ทั้งหมดตกไปเป็นของคนอื่นอย่างไร   โดยบรรดาลูกสาวได้แต่มองอย่างน้ำตาตกใน

         เขียนคำถาม แทนที่จะใส่สัญญลักษณ์อะไรก็ไม่รู้ ก้น่าจะใส่เป็นข้อ ๆ  เวลาตอบก็จะได้รู้ว่าข้อไหนตอบข้อไหน  ตอนนี้เลยต้องไปเลือกเอาเองว่าข้อไหนตอบคำถามข้อไหน

    -


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มีนาคม 2558