ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050745 การทำประกันชีวิตและให้คนอื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมได้หรือไม่คีรีรัตน์28 พฤษภาคม 2558

    คำถาม
    การทำประกันชีวิตและให้คนอื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมได้หรือไม่

    เรียน อ.มีชัยที่เคารพ

               เนื่องจากลูกค้าดิฉันได้แจ้งความประสงค์ให้กับบริษัทประกันทราบว่าผลประโยชน์ยกให้ กองมรดก บริษัทประกันรับทราบและอนุมัติเรียบร้อยแล้ว เพราะต้องการยกผลประโยชน์ให้เป็นของเพื่อนรักในกรณีที่เจ้าของกรมธรรม์เสียชีวิต และหลังจากนั้นลูกค้าได้นำเอกสารกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง พร้อมผู้รับพินัยกรรม และพยาน มายังสำนักงานเขตเพื่อทำพินัยกรรม  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่เคยได้ทำพินัยกรรมลักษณะนี้มาก่อน ไม่มีความแน่ใจว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ตามข้อกฎหมาย ดังนั้น เรื่องการทำพินัยกรรมยังคงค้างอยู่ที่สำนักงานเขตเป็นเวลานานพอสมควร*

              ดิฉันจึงใคร่กราบเรียนปรึกษาอาจารย์ค่ะ เพื่อโปรดอธิบาย ชี้แนะแนวทางแก้ปัญหา ขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

    คีรีรัตน์ จ.

    คำตอบ
    อ่านแล้วเข้าใจยากว่าต้องการทำอะไร ที่ย่ายกประโยชน์ให้กองมรดกน่ะ กองมรดกของใคร  แล้วจะยกอะไรให้เพื่อนรัก ถ้าทำพิสดารนัก คนทำก็คงทำไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไร จะยกอะไรให้ใคร  ถ้าจะทำพินัยกรรม ก็ทำง่าย ๆ เขียนเองก็ได้ ระบุว่าตนคือใคร อายุเท่าไร อยู่ที่ไหน ประสงค์จะยกมรดกอะไรบ้างให้ใคร เขียนด้วยลายมือของตัวเอง แล้วลงลายมือชื่อ แล้วลงท้ายว่า ผู้ทำพินัยกรรม  เพียงเท่านี้ก็ใช้ได้ ไม่ต้องมีพยาน ทำแล้วก็เก็บไว้อย่างให้ใครดู โดยเฉพาะเพื่อนรักที่จะยกมรดกให้ อย่าให้ดูเป็นอันขาด เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  คนที่รักสุดใจขาดดิ้นในวันนี้น่ะ พรุ่งนี้ เดือนหน้า หรือปีหน้า อาจกลายเป็นคนที่เกลียดชังกันที่สุดก็ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 พฤษภาคม 2558