กฎหมายฟอกเงินของไทย ได้มาตรฐานสากลจริงหรือไม่ 1. พ.ร.บ.ฟอกเงิน 2542 ใช้อำนาจในการออกกฎหมายโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาเวียนนา1988 ที่ระบุว่าการริบทรัพย์สินเป็นมาตรการเสริมทางอาญา เท่านั้น เมื่อเป็นโทษทางอาญาจึงย้อนหลังไม่ได้แต่สำนักงาน ปปง. กลับอ้างว่านำหลักกฎหมายการริบทรัพย์สินของอเมริกา ซึ่งเป็น common law มาใช้กับประเทศไทย จึงตีความว่า การริบทรัพย์เป็นโทษทางแพ่ง จึงสามารถริบทรัพย์ย้อนหลังได้ ทำไมถึงตีความกันแบบนี้ 2. การริบทรัพย์ของอเมริกา จะต้องมีคำพิพากษาว่ากระทำความผิด ระบบการริบทรัพย์ของประเทศอื่นก็ต้องมีคำพิพากษาลงโทษก่อน จึงจะริบทรัพย์สินได้ แต่ ปปง. กลับอ้างว่า ริบทรัพย์ย้อนหลังได้ โดยไม่ต้องมีคำพิพากษา และริบทรัพย์ได้ไม่จำกัด ซึ่งหลักการของกฎหมายฉบับนี้แตกต่างพิสดาร เป็นการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของ ปปง. แบบนี้จะมีผลบังคับใช้ได้หรือครับ และจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไง 3. ระบบการริบทรัพย์ที่ใช้กันอยู่ มี 2 ประเภท คือ ระบบริบทรัพย์เฉพาะเจาะจง และระบบริบทรัพย์ตามมูลค่า ในปัจจุบันประชาชนกระทำความผิดมูลฐานต้องถูกริบทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งคนในครอบครัว (ริบทรัพย์ทางแพ่ง) แต่ที่นักการเมืองกระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดที่ร้ายแรงกว่า ทำไมถึงให้ริบทรัพย์ตามมูลค่า (เป็นการริบทรัพย์ทางอาญา) มาตรฐานการริบทรัพย์แตกต่างกันแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ 4. การที่ ปปง. อ้างว่าจะต้องเพิ่มเติมความผิดมูลฐาน รวม 21 ความผิดแล้ว เพราะ FATF. กำหนดไว้ตามอนุสัญญาต่อต้านการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ แต่อนุสัญญาระบุไว้ใช้เฉพาะความผิดระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ ปปง. นำมาบังคับใช้กับประชาชนภายในประเทศได้หรือไม่ 5. รายงานของ FATF.ระบุชัดเจนว่า การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยมีปัญหาขั้นวิกฤตในการตีความ ทำไมนักการเมืองไม่มีใครออกมาทำอะไรเลย ปล่อยให้ปปง. เล่นป่าหี่มานานกว่า 16 ปี แล้ว ตอนนี้อเมริกาให้เทียร์3 แล้ว อีกไม่นาน EU. ก็ต้องตามมา ทำไมไม่บอกประชาชนว่าเกิดอะไรขึ้น กับระบบกฎหมายของประเทศไทย |