ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050953 รัฐเป็นผู้เสียหาย กับ ราษฎรเป็นผู้เสียหาย ต่างกันอย่างไรนักศึกษา22 สิงหาคม 2558

    คำถาม
    รัฐเป็นผู้เสียหาย กับ ราษฎรเป็นผู้เสียหาย ต่างกันอย่างไร
    ขออนุญาตกราบเรียนท่านอาจารย์ครับว่า คำว่าคดีที่รัฐเสียหายต่างกับคำว่าคดีราษฎรเสียหายอย่างไร(ไม่รวมคดีข้าราชการฯลฯทุจริตคอรัปชั่นนะครับ) กฎหมายใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินความต่างกันครับ ยิ่งศึกษายิ่งงง เช่น สมัครใจทะเลาะวิวาท กฎหมายบอกรัฐเสียหายทั้งที่เป็นเรื่องของคน 2 ฝ่าย  เทียบกับคดีลักทรัพย์ ฉ้อโกงฯลฯ มันก็คือเป็นเรื่องของคนสองฝ่ายเหมือนกันแต่กลายเป็นว่าราษฎรเสียหายบ้างรัฐเสียหายบ้าง ซึ่งต่างกับคดียอมความได้หรือยอมไม่ได้ที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจน จึงอยากได้คำตอบที่เข้าใจง่ายๆจากท่านอาจารย์ว่า เราจะพิจารณาได้อย่างไรว่าคดีไหนรัฐเป็นผู้เสียหาย คดีไหนราษฎรเป็นผู้เสียหาย กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ (ถ้ายกตัวอย่างผิดกราบขอโทษด้วยครับ)
    คำตอบ
    ความผิดทางอาญาในทุกเรื่อง ถ้ามองในภาพรวม ก็จะเห็นว่าการกระทำความผิดนั้น จะทำให้สังคมได้รับผลกระทบ อย่างน้อยก็ทำให้อยู่ไม่สงบ ขาดความมั่นคง รัฐในฐานะที่ดูแลความสงบและรักษาความมั่นคงของรัฐและประชาชน ก็ย่อมต้องถือว่ารัฐเสียหาย  แต่การหกรัฐเสียหายนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนที่เกี่ยวข้องที่เป็นประจำชนจไม่เสียหาย  เช่น เจ้าหน้าที่ขอบรัฐเรียกรับเงินจากประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่  อย่างนี้รัฐเสียหาย ในขณะเดียวกันประชาชนที่ถูกเรียกเงินก็เสียหายด้วย แต่ระดับความเสียหายนั้น แตกต่างกัน บางเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องระหว่างสองคนทีไม่กระทบกับคนอื่นมากนัก เจ้าตัวที่เกี่ยวข้องจะเสียหายโดยตรงมากกว่ารัฐ ในกรณีเช่นนี้ กฎหมายก็จะกำหนดให้คนที่เกี่ยวข้องสามารถยอมความกันได้  เช่นคดีหมิ่นประมาท หรือคดียักยอกทรัพย์ คนที่ถูกหมิ่นประมาท หรือยักยอก จะเสียหายโดยตรงมากกว่ารัฐ แต่ถ้าเจ้าตัวไม่อยากเอาเรื่อง รัฐก็ไม่ว่าอะไร ยอมให้เลิกลากันไปได้ คดีอย่างนี้ที่เรียกว่า คดียอมความได้ หรือคดีความผิดต่อส่วนตัว  แต่ถ้าเป็นเรื่องที่รุนแรง และก่อให้เกิดความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัยขึ้น แม้จะเป็นเรื่องระหว่างกัน รัฐก็ต้องก้าวเข้ามาดูแล เช่น คดีทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตราย อย่างนี้จะกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย จึงยอมความกันไม่ได้  แต่ถ้าทำร้ายร่างกายเล็กน้อยพอหอปากหอมคอ ไม่ถึงกับเป็นอันตราย รัฐก็ยอมให้ยอมความกันได้ โดยถือเป็นความผิดลหุโทษ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 สิงหาคม 2558