ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050990 การฟ้องภาษีค้างชำระ กรณีเป็นบุคคลล้มละลาย ต่อมาเสียชีวิตนิติกร ทต8 กันยายน 2558

    คำถาม
    การฟ้องภาษีค้างชำระ กรณีเป็นบุคคลล้มละลาย ต่อมาเสียชีวิต

    กรณีลูกหนี้ภาษีค้างชำระของเทศบาล เป็นบุคคลล้มละลาย ต่อมาเสียชีวิต ข้อเท็จจริง ดังนี้

    1. นาย 1   เป็นผู้ค้างชำระภาษีของเทศบาล จำนวน ๕ ปี คือ ปี ๒๕๔๗, ๒๕๔๘, ๒๕๔๙,๒๕๕๐ และปี ๒๕๕๑ ต่อมาศาลล้มละลายกลาง ได้พิพากษาให้นาย 1 ล้มละลาย ใน เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕ 

    2. เมื่อศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด  เทศบาล มีหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา แต่เทศบาลไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดดังกล่าว แต่หนี้ภาษีค้างชำระ เป็นหนี้ภาษีอากร ตามมาตรา ๗๗ (๑)  แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ กำหนดว่าถ้าลูกหนี้ปลดจากล้มละลายไม่ว่าจะเป็นโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตามาตรา ๗๑ หรือพ้นกำหนดระยะเวลาตามาตรา ๘๑/๑  ให้ลุกหนี้หลุดพ้นจากหนจี้สินทั้งปวงที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ เว้นแต่หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือจังกอบรัฐบาลหรือเทศบาล  ดังนั้น เมื่อนาย 1  ปลดจากล้มละลายแล้ว เทศบาล  สามารถดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือฟ้องร้องบังคับคดี ภายในกำหนดเวลาหรืออายุความตามกฎหมายแล้วแต่กรณี

    3. เมื่อตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎร พบว่า นาย 1  ได้เสียชีวิต มีการแจ้งการตายเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘

    ขอเรียนปรึกษาให้ประเด็นปัญหาดังนี้  

    1. พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘๗ บัญญัติว่า “ถ้าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาก็ดี หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย” เมื่อปรากฏว่านายธนพจน์ฯ ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว  กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป  ตามมาตรา ๘๒ ในกรณีที่ลูกหนี้ตาย หากปรากฏว่าถ้าลูกหนี้ยังคงมีชีวิตอยู่ เจ้าหนี้อาจฟ้องให้ล้มละลายได้แล้ว เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ แต่ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย  สอบความความคืบหน้าคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์  แจ้งว่า อยู่ระหว่างรวบรวมทรัพย์สิน และประกาศขายทอดตลาด       

    2. อายุความตามกฎหมายมรดก มาตรา ๑๗๕๕ ให้เจ้าหนี้เรียกร้องชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา หนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก                                                   

    กรณีข้อเท็จจริงที่เรียนมา เทศบาล จะสามารถฟ้องร้องบังคับชำระหนี้จากทายาทของนาย 1 ได้หรือไม่ เนื่องทรัพย์มรดกของนาย1 อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓   เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รวบรวมและอยู่ระหว่างการขายตลอดตลาด   หรือต้องจนกระทั้งกระบวนการทางกฎหมายล้มละลายสิ้นสุดลง

    หรือมีแนวทางอย่างไรครับ

    คำตอบ

    ควรไปปรุึกษาอัยการ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 กันยายน 2558