ที่มาวุฒิสภา วุฒิสภา ถ้ามาจากการสรรหาทั้งหมด ก็มีอำนาจจำกัดแค่กลั่นกรองกฎหมาย ไม่เหมาะกับการเมืองไทยที่มีการทุจริตรุนแรง กระบวนการตรวจสอบจากภาคประชาชนที่ยังอ่อนแอ กลัวอิทธิพล ธุระไม่ใช่ วุฒิสภาของไทยจึงควรมีอำนาจทั้งกลั่นกรองกฎหมาย ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่งตั้งองค์กรอิสระ. ถ้าวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด หรือเลือกตั้งทางอ้อมโดยมาจากการเมืองท้องถิ่น ก็โดนแทรกแซงจากพรรคการเมืองนายทุนเบ็ดเสร็จได้ ซึ่งเหมือนหลายประเทศที่ยกเลิกไป เพราะไม่มีประโยชน์ ทำพรรคการเมืองมีอำนาจทั้งบริหาร นิติบัญญัติ และอำนาจตรวจสอบในมือ . ถ้าไม่มีวุฒิสภาเหมือนมันเคว้งคว้าง เหมือนชีวิตประชาชนต้องฝากไว้กับนักการเมืองอย่างเดียว กษัตริย์กับทหารคงแทบไม่อยากยุ่งเกี่ยวอีก . วุฒิสภาที่มาจากสรรหาครึ่งหนึ่งแต่งตั้งครึ่งหนึ่งน่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด โดยให้มีอำนาจอำนาจถอดถอนร่วมกับสภาผู้ราษฎรคือถอดถอนโดยใช้มติเสียงข้างมากของสองสภา ก็เหมาะสมเพราะมาจากการเลือกตั้งแค่ครึ่งเดียว .
จึงขอเสนอวุฒิสภาที่มาจากสรรหาครึ่งนึงเลือกตั้งครึ่งนึง บางคนบอกว่ารับไม่ได้เพราะเป็นปลาสองน้ำ แต่ทำไมรัฐบาลผสมถึงยอมรับได้ สภาผู้แทนก็มีทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน ศาลรัฐธรรมนูญที่มีตัวแทนศาลและตัวแทนฝ่ายการเมืองก็ยังยอมรับกันได้ ทั้งที่เป็นคนล่ะพวกกัน เพราะมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดมิใช่หรือ . อีกอย่างเวลาจะขอความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ จะต้องการตัวแทนประชาชนแต่ล่ะพื้นที่และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆมิใช่หรือ นั้นแปลว่ารูปแบบนี้เหมาะสมกับวุฒิสภาที่ทำหน้าที่กับกลั่นกรอง ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาก็ยังได้.
ในส่วนที่มาองค์กรอิสระ ให้วุฒิสภาสรรหาที่เป็นองค์กรที่มาจากการคัดคนเชี่ยวชาญเหมาะสมในด้านต่างๆอยู่แล้ว ทำหน้าที่เป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ และให้วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเลือกผู้จะทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ แบบนี้จะทำให้องค์กรอิสระมีความชอบธรรมในการทำหน้าที่มากขึ้น . เพราะไม่เห็นด้วยที่กรรมการสรรหาองค์กรอิสระ มาจากตัวแทนศาล หรือแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ถ้ากรรมการสรรหาองค์อิสระมาจากศาลมันผิดหลักการแยกอำนาจ บริหารและตุลาการออกจากกัน .
ถึงจะยังไม่ทราบว่า ที่มาวุฒิสภาสรรหาจะมาจากไหนจึงเหมาะสม แต่ไม่เห็นด้วยถ้ามาจากศาลแบบตุลาการภิวัฒน์แน่ๆ |