ยอมรับว่า เมื่อวันที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ คราวลงที่จังหวัดสุรินทร์ ได้สนับสนุนความคิดเรื่องคณะกรรมการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ทั้งนี้กล่าวว่าควรมีในระดับจังหวัดด้วย แต่นั่นเป็นเจตนาที่สนับสนุนองค์กรรูปแบบของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ทำหน้าที่ประสานการพูดคุยกันของหลาย ๆ ฝ่าย ทำพื้นที่ทางการสมานฉันท์ เวทีกลาง แก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการฉันทามติ มิใช่องค์กรเชิงอำนาจแต่อย่างไร (อาจไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้) ส่วนการตอบแบบสอบถามยืนยันว่านายกต้องมาจาก ส..ส.เท่านั้น องค์กรภาคประชาสังคม ภาคพลเมืองในกฎหมายต้องเป็นกลุ่มคนเพื่อการเรียนรู้ เพื่อโน้มน้าว อย่างอ่อนโยน มิควรเป็นองค์กรเชิงอำนาจ มิฉะนั้นจะขัดแย้งกันไม่รู้จบในสังคมไทย
9/09/2558
ตั้งแต่ 2540 คนไทยกล้าตรวจสอบรัฐมากขึ้นตามลำดับ ตรงข้ามแต่ 2540 รัฐและรัฐบาลถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นขึ้นตามลำดับ สิ่งจำเป็นคือรัฐต้องเรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาความขัดแย้งอย่างถูกหลักการ ไม่ต้องกลัวว่าฝ่ายตรวจสอบจะอ่อนแอ ธรรมชาติคนไทยเก่งตรวจสอบอยู่แล้ว ให้กลัวเกรงว่าผู้นำจะเข้มแข็งพอที่จะนำความต้องการของประชาชนไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ สำคัญกว่า กรอบความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญต่อไป ส่วนของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรทำให้รัฐบาลเข้มแข็งให้มาก เช่น รัฐธรรมนูญ2540 ที่มีภาคประชาชนทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างเข้มแข็งมีความสุภาพและมีเหตุผล ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550(คนตรวจสอบควรพูดสุภาพ แสดงเหตุผลหักล้างให้แน่น เป็นกัลยาณมิตรกับรัฐบาล ชี้โพรงให้กระรอก) โดยไม่จำเป็นต้องเขียนให้เป็นกฎหมายองค์กรตรวจสอบรัฐบาลระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมากนัก เพราะจะปะทะกันแรง ( แข็งปะทะแข็ง ) นิสัยคนไทยเก่งตรวจสอบอยู่แล้ว ในอดีตไม่มีเฟส-ไลน์ ก็เป็นสังคมซุบซิบนินทา ในยุคนี้มีช่องทางต่อว่ารัฐบาลมากมายทั้งมีพลังมากด้วย จึงควรควบคุมคำด่า คำเสียดสี แต่เปิดเสรีความคิดที่มีเหตุผลประหลักวิทยาศาสตร์หน่อย สังคมไทยจะได้เรียนรู้ธรรมะแห่งการอยู่ร่วมมีความสุขต่อไปได้
05/10/2558
สร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง พร้อม ๆ สร้างเวทีให้ภาคประชาชนสะท้อนปัญหาร่วมพัฒนาประเทศอย่างภาคภูมิใจ แต่ไม่ต้องเขียนให้ภาคประชาชนเป็นองค์กร ที่มีโครงสร้างองค์กร ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ควรเขียนเป็นปรัชญาแทน เช่น "สร้างเวทีให้ภาคประชาชนสะท้อนปัญหาร่วมพัฒนาประเทศอย่างภาคภูมิใจ" สร้างเวทีกลางที่ยืดหยุ่นง่ายให้มีความสำคัญ ให้น้ำหนักเรื่องการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างรัฐกับภาคประชาชนให้ดี ระวังเรื่องแข็งปะทะแข็ง คือ ระวังไม่ให้เกิดองค์กรเชิงอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ต้องยอมรับความสำคัญแต่และส่วนให้มาก ๆ ให้สัมพันธ์กันแบบเกื้อกูล หยิน-หยาง คือรัฐใช้อำนาจ ส่วนภาคประชาชนใช้ปัญญา ฝ่ายอำนาจต้องพึ่งฝ่ายปัญญา และฝ่ายปัญญาพึ่งอาศัยอำนาจ ฝ่ายปัญญาให้มีจำนวนมากและหลากหลาย ฝ่ายอำนาจไม่จำเป็นที่จะเพิ่มให้มาก รัฐต้องทำเวทีฝ่ายปัญญาให้ตกผลึกร่วมกัน ป้องกันประชาชนปะทะกันเอง แล้วถือหางนักการเมืองเพื่อเป็นพวกเพื่อสู้กัน แค้นกัน เขียนกฎหมายให้พึงระวังบรรยายกาศของการอยู่ร่วม ให้ความสำคัญแต่ละฝ่ายอย่างสมดุล คนไทยถือเกียรติหน้าตามากจนกลายเป็น รัก ชอบ เกลียด ชัง หรือความลำเอียง
07/10/2558