ระบบเลือกตั้งและที่มานายก ระบบการเลือกตั้งนั้น ผมว่าระบบที่เหมาะสมกับคนไทยที่สุด ต้องดูที่นิสัยคนไทย นั้นคืออย่างแรกสำคัญสุดคือหนึ่งคนหนึ่งเสียง หรือวันแมนวันโหวต ซึ่งแฟร์ที่สุด อย่างที่สองคือเขตเดียวเบอร์เดียว คนที่ได้คะแนนเยอะสุดก็ควรเป็นตัวแทนเขต ถ้าใช้แบบอื่นยุ่งยากและงง ไม่เหมาะกับคนไทย จริงอยู่ว่าแบบนี้เขตเล็กซื้อเสียงง่าย แต่ก็อย่าลืมว่าเขตเล็กนั่นหมายถึงเป็นคนในพื้นที่ที่พวกเขารู้จักดี ในชนบทเขาเลือกคนที่ช่วยเขา มางานเขา เข้าถึงง่ายครับ อีกอย่างที่ผมจะเสนอ คนไทยไม่ชอบเลือกตั้งซ่อม ใครผิดกฎหมายหมายเลือกตั้ง ก็เอาคนอันดับที่สองขึ้นมาแทนเลย จะได้สร้างค่านิยมที่ถือความซื่อสัตย์มาก่อน
อย่างที่สามนอกจากใช้แบบเขตเเล้วก็ต้องมีระบบบัญชีรายชื่อแบบใช้เขตประเทศเลือกตั้งเหมือนปี40เพราะขนาด50พรรคการเมืองขนาดใหญ่ยังร่วมแก้รัฐธรรมนูญไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบปี40 ยังไงก็คงร่วมกันแก้อยู่ดี ระบบบัญชีรายชื่อ ช่วยให้รู้ว่าใครน่าจะเป็นคณะรัฐมนตรีของพรรคนั้น และเมื่อพรรคนั้นได้เสียงข้างมากต้องลาออกจาก ส.ส. ไปเป็นรัฐมนตรี จะได้ไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ เอารายชื่อต่อไปมาเป็นได้เลย ทำให้พรรคการเมืองต้องเสนอนโยบายพรรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเลือกตั้งที่นอกจากเลือกตัวแทนที่เป็นตัวแทนอัตลักษณ์ตนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน ก็ต้องเลือกเจตนารมณ์ด้วยอันเป็นหน้าที่พรรคการเมืองที่ต้องศึกษาความต้องการประชาชนมากำหนดเป็นนโยบายให้ประชาชนเลือก
ซึ่งรูปแบบนี้เป็นที่ชัดเจนว่าทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง ซึ่งประเทศที่เจริญแล้ว มีรัฐบาลที่เข้มแข็งมีเสถียรภาพ แต่ประเทศเราเอาความเข้มแข็งมาคอรัปชั่น การแก้ควรเป็นเพิ่มอำนาจฝ่ายตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพมากกว่าจะไปลดอำนาจรัฐบาล เพราะประเทศไทยไม่เหมาะกับรัฐบาลผสม ที่พรรคร่วมรัฐบาลเรียกร้องจนนำไปสู่คอรัปชั่นแบบไม่มีทางเลือก ซึ่งไม่มีใครต้องการ.
อีกอย่างประเทศที่เจริญแล้ว มักจะเห็นว่ามีพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค ที่เป็นมืออาชีพบริหารประเทศเป็นหลัก ผลัดกันเป็นรัฐบาลเป็นฝ่ายค้าน ที่ก็หลายประเทศที่พยายามให้เป็นแบบนั้นแต่ทำไม่ได้ก็มี.ประเทศเรามีมวลชนสองฝ่าย คือ นปช และ กปปส โดย นปช สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอย่างเปิดเผย ส่วนกปปส เป็นกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนปช แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนประชาธิปัตย์เพราะไม่ได้มีนโยบายที่เป็นตัวแทนกปปส และสนับสนุนศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่กล้าเลือก เวลาเลือกตั้งก็ไปเลือกเพื่อไทยอีก. แต่แม้กระนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าทำให้มวลชนสองฝ่ายเหมือนต่างประเทศที่มีสองพรรคใหญ่แต่อยู่ร่วมกันได้ นั้นน่าจะเป็นทางออก ผมจึงเห็นว่าควรคงระบบเลือกตั้งแบบนี้ไว้ต่อไป
สถานการณ์แบบนี้ จึงจำเป็นต้องออกแบบระบบการเลือกตั้งที่อาจเน้นกำจัดบางพรรคที่มีปัญหา ผมเข้าใจ แต่ว่าผมว่าน่าจะพบกันครึ่งทาง คือคงระบบการเลือกตั้งแบบนี้ไว้ตามที่เขาเรียกร้องมา ให้นายกมาจาก ส.ส. และไปหาเทคนิคแก้ไขตามหลักสากลที่ถ้าไม่มีสภาผู้แทนไม่มีนายกควรทำไง เอาดีกว่า
ผมเห็นประชาชนชินระบบการเลือกตั้งแบบนี้แล้ว ในสถานการณ์แบบนี้ ถ้าเราเปลี่ยนระบบ เราไม่รู้ความต้องการของประชาชน ถ้าประชาชนต้องการแก้ไขให้ประเทศไปทางไหนเขาจะได้ทำได้ผ่านระบบเลือกตั้งที่เขาคุ้นเคย ถ้าเปลี่ยนก็ไม่รู้จะออกไปทางไหนแล้ว เพราะการเลือกตั้งที่แฟร์ๆยุติธรรม เป็นระบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยธรรมชาติ ถ้าไปดัดแปลงแก้ไขระบบเลือกตั้งมาก อาจสร้างปัญหาทั้งที่ควรจะไม่เป็นปัญหาด้วยซ้ำ
ผมจึงเสนอว่า ระบบเลือกตั้งใช้วันแมนวันโหวต ใช้เขตเดียวคนเดียวผสมแบบบัญชีรายชื่อ และนายกมาจาก ส.ส. ครับ |