ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051264 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองtapranksan.klunkpudsa22 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    วุฒิสภา ควรมีอยู่ต่อไปหรือเปล่า ก็ต้องดูประโยชน์ของวุฒิสภา คือ กลั่นกรองกฎหมาย แต่งตั้งองค์กรอิสระ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    ในเรื่องการกลั่นกรอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆตรวจสอบกฎหมาย ผมว่าในส่วนนี้ เราใช้วิธีให้กฎหมายก่อนจะให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิทัย ก็ให้พระมหากษัตริย์ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเพื่อช่วยพระมหากษัตริย์ในการพิจารณากฎหมาย เมื่อกฎหมายไหนมีข้อบกพร่องก็ให้นำกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิสภาสรรหาที่มาจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เพราะมีพระมหากษัตริย์แล้ว 
    แต่ยังไงอำนาจของวุฒิสภาในการยับยั้งชั่วคราวก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าให้บังคับใช้เป็นกฎหมายก็ยังมีความจำเป็น โดยจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่สภาผู้แทนผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่เป็นกฎหมายที่ประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยจนต้องมารวมตัวชุมนุมคัดค้าน และกดดันให้ยุบสภาเพื่อป้องกันสภาผู้แทนผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมที่ตีกลับมาจากวุฒิสภาให้มีสภาพบังคับใช้ จะเห็นได้อำนาจยับยั้งชั่วเวลาหนึ่งมีประโยชน์มากในการให้ประชาชนมีเวลารวมตัวประท้วงก่อนที่อะไรจะสายเกินไป 

    อำนาจในการสรรหาองค์กรอิสระ. ในเรื่องการสรรหาองค์กรอิสระมีประโยชน์ในการสร้างความชอบธรรมในที่มาขององค์กรอิสระในกรณีที่วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง แต่ถ้าวุฒิสภามาจากการสรรหาก็ต้องดูว่าผู้สรรหามีความชอบธรรมพอที่ประชาชนจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับได้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วุฒิสภาสรรหาก็ได้ ให้ผู้ที่จะสรรหาวุฒิสภาสรรหาองค์กรอิสระโดยตรงเลยก็ได้ ดังนั้นความจำเป็นของวุฒิสภาในการให้มีอยู่เพื่อสรรหาองค์อิสระจึงไม่มี

    การให้มีวุฒิสภาเพื่อใช้อำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยใช้เสียงข้างมากของสภา อันนี้จะเห็นได้ว่าการถอดถอนเป็นเรื่องยากมาก. แต่ถ้าออกแบบให้ถอดถอนง่าย ก็มีปัญหาในเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลอีก ถ้าออกแบบให้ถอดถอนกันได้ง่าย เหมือนประเทศอิสราเอลที่ให้เลือกตั้งนายกได้โดยตรง แต่ให้นายกสามารถยุบสภาได้ ให้สภาผู้แทนถอดถอนนายกได้ด้วยเสียงมาก ผลที่เกิดขึ้นถ้าสภามีฝ่ายค้านเป็นเสียงข้างมากก็จะถอดถอนนายกทันที พอนายกมีอำนาจยุบสภา พอสภาผู้แทนมีฝ่ายค้านเป็นเสียงมากนายกก็ยุบสภาอีก จนกลายเป็นประเทศที่การเมืองล้มเหลว ในขณะที่ถ้าออกแบบให้ถอดถอนยาก ก็จะทำอะไรรัฐบาลไม่ได้เลยไม่ว่าจะสร้างความเสียหายแก่รัฐ ประเทศ และประชาชนขนาดไหน การที่ท่านอาจารย์มีชัยเล็งเห็นว่าการแก้ปัญหาให้แก้ด้วยการใช้องค์กรอิสระ ถือว่าสุดยอด ตรงประเด็น มาถูกทางครับ ผมเห็นด้วยยกสองมือเลย เพราะเป็นการถอดถอนตามพยานหลักฐาน ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ใช้เสียงข้างมากในสภา ซึ่งเป็นเกมการเมืองในการจัดสรรปันส่วนที่นั่งในรัฐบาล ซึ่งไม่มีประโยชน์ในการจัดการรัฐบาลทุจริต 

    ดังนั้น จะถอดถอนง่ายก็ไม่ดี จะถอดถอนยากก็ไม่ดี แต่ถอดถอนด้วยการดำเนินคดีซึ่งผิดจริงมีหลักฐานดีกว่า มีบทลงโทษให้ต้องกลัว แต่ควรให้การดำเนินคดีมีความรวดเร็ว  เพราะการทิ้งเวลาไว้นานจะยิ่งสร้างความเสียหาย

    เมื่อพิจารณาประโยชน์จากการมีอยู่ของวุฒิสภาแบบเดิมอย่างปี50 ตามที่กล่าวมาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมี เพราะสิ้นเปลือง โดยเปล่าประโยชน์ 
    คำตอบ

    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ตุลาคม 2558