ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051265 การแบ่งแยกอำนาจtapranksan.klunkpudsa23 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    การแบ่งแยกอำนาจ
    รัฐธรรมนูญปี40เป็นเหตุ ให้พรรคการเมืองรู้ว่าการควบรวมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และอำนาจกึ่งตุลาการหรือการตรวจสอบ ทำให้สามารถครองอำนาจเบ็ดเสร็จผูกขาดประเทศได้

    รัฐธรรมนูญปี50ประสบความสำเร็จในการ แยกอำนาจการตรวจสอบ ออกมาจากพรรคการเมืองได้ และเพิ่มอำนาจตุลาการเพื่อถ่วงดุลอำนาจพรรคการเมืองที่ควบรวมอำนาจบริหารและนิติบัญญัติอยู่ แต่พรรคการเมืองก็พยายามทวงอำนาจตุลาการ ผ่านทางอำนาจนิติบัญญัติด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรมล้างผิด

    ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญของท่านอาจารย์มีชัย จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบปี50คือการเพิ่มอำนาจตุลาการ อาจจะด้วยวิธีที่แตกต่างกัน แต่หลักการยังเหมือนเดิม จึงอยากเสนอให้อาจารย์เปลี่ยนวิธีการ เป็นการลดอำนาจพรรคการเมือง. ด้วยการแยกอำนาจบริหารและนิติบัญญัติออกจากกัน ด้วยการ ให้ประชาชน เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง ด้วยการให้นายกมาจากวุฒิสภา และวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ

    ซึ่งเป็นการทำให้สภาผู้แทนแข็งขึ้น.มิใช่แบบเดิมที่เป็นสภาอ่อนแอ เกรงกลัวฝ่ายบริหาร ทำให้เกิดการครอบงำพรรคโดยครอบครัวเดียว. และสามารถให้ประชาชนเลือกคนที่ประชาชนชอบเป็นนายก ไม่ต้องได้นอมินีจากใครก็ไม่รู้ โดยที่ไม่ต้องอิงกับการต้องเลือกส.ส.เขตแบบเดิมทำต้องจำใจเลือกได้แค่สองพรรคใหญ่จนเป็นเหตุ ให้เกิดความขัดแย้งอย่างที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีทางออก 

    ถ้าต้องการผลลัพภ์ใหม่ แต่แก้ปัญหาด้วยวิธีเดิม ย่อมได้ผลลัพภ์แบบเดิม 

    อีกอย่าง เป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศปฏิรูป ก็เป็นสิ่งที่สมควรที่เราจะเปลี่ยน จากประชาธิปไตยไม่เต็มที่ สู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ด้วยการแยกอำนาจ บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ออกจากกันอย่างแท้จริง ตามหลักการเสียที

    อยากให้โจทย์การ แยกอำนาจบริหาร โดยให้ประชาชนเลือกฝ่ายบริหาร อันเป็นแนวทางใหม่ กับ ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกของฝ่ายนิติบัญญัติ อันเป็นโมเดลแบบเดิม เป็นตัวเลือกแรกสุด ว่าจะใช้การปกครองรูปแบบไหน ในรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ตามหลักวิชาการ ถ้าถามประชาชนผมเชื่อว่าทุกคนต้องอยากลองเปลี่ยนดู อยากเลือกฝ่ายบริหารเองซักที
    คำตอบ

    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 ตุลาคม 2558