สนับสนุนแนวคิด กรธ.เรื่องที่มา สส. และข้อเสนอปรับปรุงให้สอดคล้องสังคมไทย
1.2 ภาพรวมของข้อเสนอ
1.2.1 หลักการ
(1)
คะแนนนิยมพรรค ควรสะท้อนจำนวนที่แท้จริงของ สส.และเมื่อรวมจำนวน สส.ของแต่ละพรรค
ทุกประเภทแล้ว ก็ไม่ควรเกินสัดส่วนที่เป็นจริง
(2) จะไม่มี
สส.แบบบัญชีรายชื่อ มีแต่ผู้สมัครแบบ สส.เขต เท่านั้น โดยจะนำรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งระบบเขตที่ไม่ได้รับเลือกตั้งที่คะแนนดีที่สุดไปเติมเต็มให้ครบตามสัดส่วน
1.2.2
วิธีการ
(1) บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
คือบัตรเลือกพรรค กับ บัตรเลือก สส.เขต
(2) แบ่งประเทศออกเป็นโซน 7 โซน
(3) สส. มีประเภทเดียว คือ สส.เขต
เท่านั้น แต่จะมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ -ขั้นที่ 1-สส.เขต ที่ได้รับเลือกตั้งทันที (เขตละ 6 คน) จำนวน 350 คน และ ขั้นที่ 2-สส.เขต ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งทันทีแต่มีคะแนนดีที่สุดตามลำดับ
เพื่อเติมเต็ม สัดส่วนกลุ่มจังหวัด จำนวน 150 คน รวมทั้งหมด 500 คน โดยประมาณ
(4) จำนวน สส.แต่ละโซน
คำนวณจาก สัดส่วนของบัตรเลือกพรรค
(5) จำนวน สส.ทั้งหมดของพรรคในโซนนั้น(จากบัตรเลือกพรรค)
หักลบด้วยจำนวน สส.เขตที่ได้ของพรรค ในโซนนั้น ก็จะเป็น สส.แบบเติมเต็ม
กลุ่มจังหวัด
(6) กกต.นำรายชื่อ ผู้สมัคร สส. ในระบบเขต ที่ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่มีคะแนน(ร้อยละ)สูงสุดตามลำดับ เติมเต็มเป็น สส. ให้ครบสัดส่วน
ในกลุ่มจังหวัดนั้นๆ
(7) แต่มีเงื่อนไขสำคัญเพื่อป้องกัน
นอมินี่ต่างพรรค คือ พรรคที่จะได้โควต้าครบสัดส่วนในโซนนั้นคะแนนผู้สมัคร
ระบบเขตรวมกันต้องไม่ต่ำกว่า 50 % ของคะแนนพรรคในโซนนั้น ทั้งนี้ให้คิดสัดส่วนเป็นโซนๆไป
|