ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051532 แนวทางรัฐธรรมนูญใหม่ธรรมนูญ12 มกราคม 2559

    คำถาม
    แนวทางรัฐธรรมนูญใหม่

    เรียนอ. มีชัย ที่เคารพ

    ผมขอเสนอแนวทางแก้ไขระบบการเลือกตั้งเพื่อให้อาจารย์ดูว่าจะเป็นทางออกที่ดีให้กับการเมืองบ้านเราหรือไม่ อาจารย์ช่วยแนะะนำด้วยครับว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

    ทางออกประเทศไทย

     ปัญหาการเมืองในปัจจุบัน

    อำนาจบริหารอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ ต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักการแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันอำนาจบริหารและนิติบัญญัติอยู่ภายใต้บุคคลกลุ่มเดียวกันคือพรรคการเมือง ทำให้ฝ่ายนิติบีญญัติสามารถออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายบริหารได้แทนที่จะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ของประชาชน ดังจะได้เห็นตัวอย่างการออกกฎหมานนิรโทษกรรมให้กับพวกตนเองหรือออกกฎหมายเอี้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของกลุ่มตนเองเป็นต้น

    ปัญหาความขัดแย้งวุ่นวายในบ้านเมืองเราทุกวันนี้ ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งจะเห็นว่าทั้งหมดมีสาเหตุมาจากนักการเมืองที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน ครอบครัวและพรรคพวกของตนเองเป็นหลัก หาได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติไม่ อีกทั้งยังอ้างความชอบธรรมได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนที่เลือกเข้ามาตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่มีสำนึกว่าประชาชนเลือกเข้ามาเพื่อให้ดูแลรักษาผลประโยชน์ของประชาชนหรือบริหารบ้านเมืองให้รุ่งเรืองด้วยความเสียสละโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและไม่ยึดติดกับตำแหน่ง

    ความขัดแย้งนับวันจะทวีคูณจนอาจเกิดเป็นสงครามกลางเมือง ดังเห็นได้ชัดจากความพยายามของนักการเมืองที่จะแบ่งแยกประชาชนเป็นฝักเป็นฝ่ายเช่นฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลืองเป็นต้นเพื่อประโยน์ส่วนตนและพวกพ้อง ยังไม่มีทีท่าหรือทางออกให้กับประเทศไทยว่าจะแก้ไขอย่างไรให้ประชาชนชาวไทยเลิกแบ่งพรรคแบ่งพวกและมารักกันเหมือนเดิม

    ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยการเปลียนแปลงรัฐบาลหรือยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ก็จะไม่มีอะไรดีขี้นเพราะเราจะได้นักการเมืองหน้าเดิมและหนากลับมาเหมือนเดิมและก็จะโกงกินบ้านเมืองจนร่ำรวย สามารถนำเงินเหล่านั้นมาซื้อเสียงเพื่อจะได้กลับมาเป็นสสและรัฐบาลต่อไปจนสามารถเป็นมรดกตกทอดไปจนชั่วลูกชั่วหลาน ถ้าโดนประชาชนหรือสื่อมวลชนจับได้ว่าโกงจนกระทั่งถูกศาลตัดสินจำคุก ก็ยังสามารถออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตัวเองได้ ยิ่งทำให้นักการเมืองที่มีจิตใจคดโกงไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดเพราะถือว่ามีอำนาจอยู่ในมือจะทำอะไรก็ได้และเชื่อว่ากฎหมายจะเอื้อมไม่ถึง นอกจากนี้ยังอาศัยอำนาจรัฐ อิทธิพลเถื่อน คุกคาม อุ้มฆ่าฝ่ายตรงข้าม เจ้าหน้าที่ของรัฐมีทีมสังหารไว้ใช้งานจัดการกับปรปักษ์นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรวมทั้งพวกเรียกร้องและนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอีกด้วย

    จึงไม่แปลกใจที่มีนักการเมืองที่มีอดีตเป็นอันตพาล มาเฟีย หรือผู้มีอิทธพลได้รับเลือกเป็นสสมากขี้นเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็จะไม่ได้คนดีมีความสามารถมาบริหารประเทศ จะมีแต่คณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้มีอิทธิพล มาเฟียมาบริหารประเทศเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเป็นแบบนี้ ประเทศไทยเราจะเจรืญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตดั่งเช่นอารยะประเทศได้อย่างไร

    จากปัญหาที่กล่าวข้างต้นสามารถตั้งเป็นโจทย์ที่ต้องแก้ไข 3-4 ข้อดังนี้

    ข้อที่1 – ทำอย่างไรจะแยกอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและอำนาจตุลาการให้อิสระต่อกันเพื่อการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิผล ป้องกันการโกงกินของนักการเมืองได้

    ข้อที่ 2 – ทำอย่างจะได้คนดีมีความสามารถเข้ามาปริหารประเทศ โดยไม่ต้องซื้อเสียง และป้องกันไม่ให้ผู้มีอิทธิพล มาเฟีย หรืออันตพาลเข้ามา

    ข้อที่ 3 – ทำอย่างไรจะทำให้คนไทยเลิกขัดแย้งกลับมารักกันเหมือนเดิมไม่แบ่งสีแบ่งข้าง

    ข้อที่ 4 - ทำอย่างถึงจะขจัดคอรัปชั่นให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทยที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด


    โจทย์ข้อที่ 1 เราจะเห็นว่าอำนาจตุลาการปัจจุบันค่อนข้างจะอิสระยกเว้นอำนาจปริหารและนิติบัญญัติ ที่ยังอยู่ภายใต้กลุ่มบุคคลเดียวกัน คือพรรคการเมืองเสียงข้างมาก จะทำอย่างไรที่จะแยกอำนาจบริหารและนิติบัญญัติอิสระจากกัน

    ความเห็นของผมก็คือ ให้แยกอำนาจทั้ง 2 อิสระจากกันด้วยการ มอบอำนาจบริหารให้สสเพียงอย่างเดียว ส่วนอำนาจนิติบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของสว

    อำนาจบริหารให้สสเพียงอย่างเดียว

    วิธีการที่น่าจะดีที่สุดที่จะได้สสมาทำหน้าที่บริหารประเทศ ก็คือ การให้ประชาชนเลือกเฉพาะสสปาร์ตี้ลิสต์เพื่อเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารหรือครม สสปาร์ตี้ลิสต์จะมีเพียง50-100คนเท่านั้นให้เพียงพอกับตำแหน่งรัฐมนตรี  เลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งสามารถจะตอบโจทย์ข้อที่2ด้วย เนื่องจากพรรคการเมืองจะต้องเลือกคนดีคนเก่งมาเป็นสสปาร์ตี้ลิสต์เพื่อให้ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นครมบริหารประเทศโดยพรรคการเมืองจะต้องระบุด้วยว่าจะให้ใครเป็นรมตกระทรวงใด มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งประการใดนอกเหนือจากนโยบายของพรรค เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ส่วนสสเขตก็ให้ยกเลิกไปเลย จะได้ไม่มีสสในพื้นที่ที่เป็นผู้มีอิทธิพล มาเฟียเข้ามาบริหารประเทศ การซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกสสเขตก็จะหมดไป การซี้อสิทธขายเสียงให้กับสสปาร์ตี้ลิสต์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องใช้เงินมหาศาลในนามของพรรคเพื่อซื้อเสียงปชชทั้งประเทศ  ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกจับได้ง่ายและถูกยุบพรรค อีกทั้งยังไม่มีตัวแทนสสเขตที่จะเอาเงินไปให้ปชชด้วย ถึงแม้จะใช้หัวคะแนนก็ไม่รับประกันว่าจะได้ผลหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับคะแนนรวมของพรรค กกตก็สามารถตรวจสอบการซื้อเสียงได้ง่ายขี้นเพราะถ้ามีก็จะเป็นเงินมาจากแหล่งเดียวคือของพรรคการเมือง  ที่สำคัญความขัดแย้งของสีเสื้อก็จะหมดไปโดยปริยายเพราะสสปาร์ตี้ลิสต์ที่ถูกเลือกเข้ามาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความสามารถบริหารประเทศโดยไม่ต้องอาศัยมวลชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นฐานเสียงถือเป็นสสของคนทั้งประเทศเลือกเข้ามา ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งภาค เป็นการตอบโจทย์ข้อที่ 3 ไปด้วย แต่ถ้าพรรคการเมืองใดดูถูกปชชโดยเลือกสสที่มีประวัติด่างพร้อย หรือมีความรู้ความสามรถไม่ตรงกับกระทรวงที่รับมอบหมาย ผมเชื่อว่าพรรคการเมืองนั้นจะได้คะแนนเสียงน้อยลงอย่างแน่นอน

    สำหรับการจัดตั้งรัฐบาล จำนวนครมก็จะแบ่งตามสัดส่วนคะแนนสสปาร์ตี้ลิส์ของแต่ละพรรค พรรคไหนได้คะแนนสสปาร์ตี้ลิสต์มากสุด หัวหน้าพรรคก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และจะได้สิทธิเลือกกระทรวงก่อน พรรคลำดับสองก็จะเลือกกระทรวงในลำดับต่อมาจนถึงพรรคลำดับสุดท้าย  ถ้าหากคะแนนเสียงกระจายไปตามพรรคต่างๆเราจะได้รํฐบาลผสมมาจากหลายพรรคที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลแห่งชาติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

    อำนาจนิติบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของสว

    สวที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติและตรวจสอบรัฐบาลควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเพื่อให้ยึดโยงกับปชชในแต่ละพื้นที่ จะได้ทำหน้าที่รับฟังปัญหาของปชชและถ่ายทอดเสนอแนะทางแก้ปัญหาให้กับรัฐบาลไปด้วย  สวจะต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองไม่เป็นญาติพี่น้องของสสและต้องไม่เคยเป็นสสมาก่อน เพื่อความเป็นอิสระในการตรวจสอบและตัดปัญหาสภาผัวเมีย การเลือกตั้งสวก็ให้ใช้หลัการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากในการหาเสียงหรือซื้อเสียง เมื่อเข้ามาในสภาก็ทำหน้าที่หลักในการควบคุมตรวจสอบรัฐบาล เสนอร่างกฎหมายและกลั่นกรองกฎหมาย  สวจะต้องทำงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักและไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด การรับผลประโยชน์จากฝ่ายบริหารไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมมีความผิด ถ้าจับได้จะมีโทษรุนแรงทั้งผู้ให้และผู้รับ

    อายุของสสและสวควรจะอยู่ได้ไม่เกิน2สมัยติดกันและสูงสุดไม่เกิน3สมัยในกรณีที่ไม่ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการสร้างฐานอำนาจและพวกพ้องเพื่อการโกงกินในระยะยาว ซึ่งจะทำให้ยากต่อการตรวจสอบและเอาผิดในอนาคต และเป็นการสร้างบริบทการเมืองใหม่ที่ยึดโยงอยู่กับระบบมากกว่าตัวบุคคล ระบบเลือกตั้งใหม่รัฐบาลจะถูกตรวจสอบโดยสวแทนฝ่ายค้านเพราะในอดีตได้พิสูจน์แล้วว่าฝ่ายค้านไม่สามารถเอาผิดรัฐบาลได้เนื่องจากเป็นเสียงส่วนน้อยซึ่งมักจะแพ้มติในสภา การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยสวจะไม่มีการลงมติแต่สามารถส่งต่อหลักฐานให้ปปชและศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบและเอาผิดรัฐบาลแทน

    ข้อดีอีกอย่างหนี่งก็คือ เราจะมีพรรคการเมืองเกิดใหม่เพิ่มขี้นมาเป็นตัวเลือกให้กับประชาชนมากขี้น สสปาร์ตี้ลิสต์ที่อาสาเข้ามาบริหารประเทศก็จะมีแต่มืออาชีพที่มีความสามารถและเสียสละเพื่อส่วนรวมจริงๆเพราะจะถูกตรวจสอบทั้งจากฝ่ายนิติบัญญัติ(สว)และตุลาการ ภาคประชาชนยังสามารถเป็นผู้ร้องเรียนไปยังศาลให้ลงโทษผู้ที่เข้ามาคดโกงได้ คนดีๆมีความสามารถและความซื่อสัตย์ก็จะกล้าเข้ามารับใช้ประเทศชาติและประชาชน บ้านเมืองก็จะเกิดความสงบสุขประชาชนรักใคร่ปองดองและประเทศชาติรุ่งเรืองสถาพรตราบนานเท่านาน ดั่งพระราชดำรัสของในหลวงเราว่า

    “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

    หรือคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นาย ลีกวนยิวที่ว่า

    “ผมเชื่อในเรื่องการนำคนดีมาดำรงตำแหน่งแม้ระบบจะไม่ดีหรือห่วยสุดๆ เมื่อได้คนดีๆมาดำรงตำแหน่งเขาก็สามารถจะทำให้ระบบที่ไม่ดีให้ดีขึ้นมาได้”

    จากพระราชดำรัสของในหลวงและคำพูดของลีกวนยิวที่ทำให้สิงคโปร์เจริญขี้นมาทัดเทียมกับอารยะประเทศน่าจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าระบบใหม่นี้จะทำให้เราได้คนดีมีความสามารถมาบริหารบ้านเมืองไม่ใช่คนไม่ดีเหมือนปัจจุบันและเชื่อว่าคนเหล่านี้จะมาทำให้บ้านเมืองสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองตลอดจนช่วยแก้ไขปรับปรุงระบบให้ดีมีประสิทธิภาพมากขี้นเรื่อยๆ  แต่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงเราก็จะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์ ปีแล้วปีเล่าเหมือนอดีตที่ผ่านมาหลายสิบปีและบ้านเมืองก็จะเสื่อมถอยจนถึงขั้นอาจเกิดกลียุคทำให้ชาติล่มสลายได้ แต่ถ้าหากได้ใช้ระบบนี้ไปอย่างน้อย4-8ปีอาจช่วยตัดวงจรอุบาทว์ให้สิ้นซากไปจากการเมืองไทยก็เป็นได้

    โจทย์ข้อที่ 4 กฎหมายรัฐธรรมนูญของเราในการควบคุมตรวจสอบได้มีการปรับปรุงในระดับหนึ่งแต่ยังไม่เพียงพอ จะสังเกตุเห็นว่านักการเมืองพันธ์ชั่วยังไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและการตรวจสอบขององค์กรอิสระตลอดจนการท้าทายอำนาจตุลาการ ผ่านสนงตำรวจแห่งชาติและกรมอัยการหรือกลุ่มบุคคลของตัวเอง

    ฉะนั้นจะต้องออกกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อเพิ่มโทษนักการเมืองให้เข็ดหลาบจดจำจนไม่กล้าโกงกิน และไม่มีกำหนดหมดอายุความ ตลอดจนเพิ่มองค์กรอิสระให้มีการตรวจสอบข้มงวดยิ่งขี้นเช่น อัยการสูงสุด และ หน่วยงาน DSIจะต้องเป็นองค์กรอิสระ ด้วยเช่นกัน

    นอกจากนี้เราควรจะนำกฎหมายปราบปรามคอรัปชั่นของประเทศอเมริกามาใช้ซึ่งได้ผลชะงัดนัก กฎหมายที่ว่านี้ก็คือกฎหมาย FCPA ย่อมาจาก Foreign Corrupt Practice Act เป็นกฎหมายปราบปรามคอรัปชั่นที่เน้นไปที่ผู้ให้ก่อนแล้วค่อยสืบไปหาผู้รับ ใครที่ให้ผลประโยชน์กับหน่วยราชการ ถ้าถูกจับได้จะมีความผิดต้องโทษอาญา ถ้าเป็นเงินของบริษัทผู้บริหารจะต้องรับโทษทางอาญาและต้องติดคุก ตลอดจนถูกปรับด้วยเงินจำนวนมหาศาลถึงขั้นทำให้บริษัทล้มละลายได้ ทำให้บริษัทอเมริกันไม่มีใครกล้าให้ผลประโยชน์กับหน่วยราชการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม การตรวจสอบเส้นทางการเงินจากผู้ให้จะง่ายกว่าผู้รับเพราะผู้รับมักจะขอเป็นเงินสดและมีตัวแทนมารับไม่สามารถสาวไปถึงผู้รับเงินที่แท้จริง สำหรับผู้ให้สามารถตรวจสอบเงินที่เบิกจากธนาคารและมักจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนทั้งฝ่ายบัญชี ฝ่ายบริหาร ผู้เบิกเงินและผู้ถือเงินเป็นต้น

    การประกาศว่าจะนำกฏหมาย FCPA มาใช้จะได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกาและประเทศอียูที่กำลังแสดงความรังเกียจต่อการรัฐประหารของเรามากขึ้นและช่วยลดแรงกดดันหรือความไม่ใว้วางใจให้น้อยลงเมื่อเห็นว่าเรามีความจริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

    อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำขนานกันไปก็คือการสร้างความเข้มแข็งและบุคลากรที่เพียงพอให้กับปปชเพื่อตรวจสอบรัฐบาลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความยำเกรงของรัฐบาลจนไม่กล้าโกงกินแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมาจากพรรคหรือคนเดิมๆก็ตาม ปปชควรจะแบ่งเป็น2หน่วยงานหลักคือหน่วยงานแรกตรวจสอบรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวและอีกหน่วยงานหนึ่งตรวจสอบข้าราชการทั่วไป โดยประกาศให้ปชชทราบโดยทั่วกันเพื่อจะได้เป็นการกล่าวเตือนล่วงหน้าว่าผู้ที่จะอาสาเข้ามาเป็นครมบริหารประเทศจะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นและต่อไปจะได้ไม่มีข้อครหาว่าปปชเลือกปฏิบัติหรือมุ่งเร่งรัดคดีของฝ่ายบริหารมากจนเกินไป ทั้งๆที่ความจริงแล้วถ้าเป็นคนที่ตั้งใจเข้ามารับใช้ชาติโดยไม่คิดโกงกินก็ไม่ควรกลัวการตรวจสอบ

    ถ้าทำได้แบบนี้พวกคนชั่วคิดโกงบ้านเมืองก็จะไม่กล้าเข้ามา เปิดโอกาสให้คนดีมีจิตสำนึกที่รักชาติจริงๆและมีจิตใจที่ซื่อสัตย์สุจริตเข้ามารับใช้ชาติแทน

    และระบบแบบนี้แหละถึงจะเรียกได้เต็มปากว่าเป็นระบบบริหารแบบCEOของฝรั่งที่มีนักบริหารมืออาชีพมากความสามารถที่ถูกคัดเลือกมาอย่างดีได้เข้ามาดูแลบริหารบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จนทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่องแบบยั่งยืน ภายใต้กรอบนโยบายที่เน้นเรื่องของความโปร่งใส และมีจริยธรรมองค์กร ตลอดจนการตรวจสอบที่เข้มงวดจากAuditorที่มีมาตรฐานสากล

    ด้วยความเคารพ

    จากความเห็นของคนไทยคนหนี่งที่ทำงานเป็นCEO ให้กับบริษัทฝรั่งในเมืองไทยมาเป็นเวลานานทีเดียว



    คำตอบ
    ขอบคุณนะครับ จะรีบส่งให้ กรธ นำไปประกอบการพิจารณา
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 มกราคม 2559