ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
ค่าส่วนกลาง
ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
อ่านทั้งหมด
มุมของมีชัย
ถาม-ตอบ กับมีชัย
ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่
ส่งคำถาม
คำสำคัญ
ค้นหาใน
หัวข้อ & เนื้อหาคำถาม
ผู้ส่งคำถาม
เลือกประเภทคำถาม-ตอบ
>
การเมือง
|
กฏหมาย
|
เศรษฐกิจ
|
ทั่วไป
|
มรดก
|
แรงงาน
|
ท้องถิ่น
|
มหาวิทยาลัย
|
ราชการ
|
ครอบครัว
|
ล้มละลาย
|
ที่ดิน
|
ค้ำประกัน
|
22128 ค้ำ
|
archanwell.org
|
ล้างมลทิน
|
24687
|
hhhhhhhhhhh
|
คำถามทั้งหมด
... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม
ปิดหน้าต่างนี้
คำถามที่
หัวข้อคำถาม
โดย
วันที่
051540
ทิ้งร้าง
API
16 มกราคม 2559
คำถาม
ทิ้งร้าง
กราบเรียนอ.มีชัย ฤชุพันธ์ที่เคารพ
ดิฉันขอความกรุณาให้ความกระจ่างกับความทุกข์ของครอบครัวด้วยค่ะ ลูกชายปัจจุบันอายุ34ปี แต่งงานกับลูกสะใภ้อายุ32ปี มาได้2ปี6เดือน. คือแต่งตอนกลางปี2556 ปรากฏว่าตั้งแต่ตอนหลังแต่งงานลูกสะใภ้ไม่ยอมย้ายมาอยู่ด้วยกันกับลูกชายตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่คราวแรกที่คุยกันเมื่อตอนก่อนสู่ขอเพื่อแต่งงาน. ลักษณะคือ แยกกันอยู่คนละจังหวัด ต่างคนต่างทำงานคนละที่ ไม่มีการไปมาหาสู่ ไม่มีการอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้แต่การติดต่อทางโทรศัพท์ก็ไม่ยอมรับสาย เมื่อคราวแต่งงานกัน ทางฝ่ายหญิงได้เรียกสินสอดของหมั้นดังนี้ เงินสด1.4ล้าน ทองคำนน.10บาท แหวนเพชร1วง และค่าใช้จ่ายในการจัดงานทั้งหมดรวมเกือบ1ล้านบาท อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่าจะทำอย่างไรดีคะ กรณีแบบนี้สามารถฟ้องเรียกสินสอดของหมั้นคืนได้มั๊ยคะ. ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
คำตอบ
ก่อนอื่นควรถามลูกชายเสียก่อนว่า เขาสองคนตกลงกันอย่างไร แลเะเขามีความสุขในการอยู่กันแบบนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นวิถีชีวิตของคนเขา อาจจะขัดตาหรือขัดความรู้สึกของเรา ก็อย่าไปยุ่งกับเขาเลยครับ เขาอายุขนาดนั้นแล้ว เขาย่อมเลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับเขาได้ สิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีงามนั้น อาจเป็นความทุกข์ของเขาก็ได้
มีชัย ฤชุพันธุ์
16 มกราคม 2559