คนไทยจะเสียเงินฟรีสามพันล้านบาทในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 หรือไม่ วันที่ 14 เมษายน 2559เรียน อาจารย์มีชัยฯ ที่เคารพ ต้องขอนุญาตอาจารย์มีชัยฯ กลับมารบกวนเพื่อขอคำแนะนำและความเห็น หลังจากที่หายไปนาน 1.ด้วยกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยในขณะนี้คือรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 14 เข้าใจว่า ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.....เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จึงต้องเสนอโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ สนช.พิจารณา และ สนช.ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข่าวว่าอยู่ในขั้นตอนนำเสนอเพื่อทูลเกล้าฯ... 2.ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อ้างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 39/1 เพื่อเสนอ"ร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ"ดังกล่าว เพื่อให้โปรดเกล้าฯลงมา... 3.แต่รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 37 วรรค 3 บัญญัตว่า "...ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกำหนดโทษมาใช้บังคับแก่การดำเนินการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย..."... 4.แต่ปรากฏว่า ในร่างฯที่กำลังเสนอเพื่อให้โปรดเกล้าฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกำหนดโทษ ซึ่งปรากฏใน หมวด 3 การควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ มาตรา 56 ถึง มาตรา 65/2 มีบทบัญญัติที่แตกต่างกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ปรากฏใน หมวด ๑๐ ความผิดและบทกำหนดโทษ มาตรา 38 ถึง มาตรา 45...
ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์มีชัยฯ 2 คำถาม ดังนี้ 1.ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2557 บัญญัติไว้ชัดเจนกำหนดความผิดและบทลงโทษการออกเสียงประชามติไว้ใน มาตรา 37 วรรค 3 แล้ว คณะรัฐมนตรีและ สนช.สามารถเสนอกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมไปจากรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ 2.รัฐธรรมนูญ 2557 มาตรา 39/1 วรรค 5 หากต้องออกเป็น"พระราชบัญญัติฯ" ต้องไม่มีบทบัญญัติในส่วนของ"ความผิดและบทกำหนดโทษ" ใช่หรือไม่ ด้วยความเคารพ policemajor@hotmail.com
|