ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051916 ทางจำเป็น กับ ทางสาธารณะโดยสภาพวินท์13 พฤษภาคม 2559

    คำถาม
    ทางจำเป็น กับ ทางสาธารณะโดยสภาพ
    เรียน ท่านอาจารย์

    ผมมีความสงสัยเรื่องทางจำเป็น กับ ทางสาธารณะโดยสภาพ มันต่างกันอย่างไร 
    ผมมีโฉนดที่ดิน 1 แปลงเป็นรูปตัว L  และมีเส้นทางสัญจรผ่ากลางที่ดินขอบที่ดินบางส่วน โดยประชาชนใช้สัญจรผ่านไปมานานหลายสิบปีแล้ว เพื่อเข้าไปยังที่ดินแปลงด้านถัดๆๆ ไป นอกจากนี้ยังมีแนวท่อประปาหมู่บ้าน เสาไฟฟ้าปักไปตามแนวทาง แต่ในระวางที่ดินของสำนักงานที่ดินไม่ปรากฎเป็นทางสาธารณะ กรณีนี้จะถือเป็นทางจำเป็นหรือทางสาธารณะโดยสภาพหรือไม่ ต่อมาทางราชการได้ตัดถนนเส้นใหม่เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรเข้าออก โดยไม่ผ่านทางในที่ดินของผม กรณีนี้ผมจะล้อมรั้วที่ดินโดยรอบแปลงได้หรือไม่ คนที่เคยใช้เส้นทางนี้จะอ้างสิทธิว่าเป็นทางสาธารณะแล้วไม่ยอมให้ล้อมรั้วได้หรือไม่ครับ

    ขอบพระคุณครับ



    คำตอบ
    ทางสาธารณะ คือ ที่ดินที่ประชาชนใช้เป็นทางสัญจร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยทางราชการใช้ที่ดินของรัฐจัดทำเป็นทางให้ประชาชนสัญจร หรือเจ้าของที่ดินยกให้เป็นทางสัญจร การยกให้นั้นอาจทำเป็นทางการ หรือปล่อยให้ผู้คนใช้สัญจร โดยไม่ปิดกั้นหรือสงวนสิทธิ์ไว้ จนเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปี ก็อาจกลายเป็นทางสาธารณะได้   ส่วนทางจำเป็นนั้น เป็นเรื่องระหว่างเจ้าของที่ดินรายหนึ่ง เจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านใน ที่เคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ภายหลังมีการแบ่งแยกโฉนด ทำให้ที่ดินแปลงในไม่มีทางออก  เจ้าของที่ดินแปลงในอาจร้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ แต่ต้องชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินแปลงหน้า
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 พฤษภาคม 2559