เรียนอาจารย์ที่เคารพ
นาย เอ ได้ทำพินัยกรรมฉบับลายมือไว้โดยระบุทรัพย์สินแต่ไม่ได้ระบุผู้รับ และมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้คือ นาย บี โดยระบุว่าหากทายาทคนใดฟ้องร้องหรือมีข้อพิพาทกับนาย บี ขอให้มรดกที่จะตกแก่ทายาทผู้นั้นเป็นโมฆะ จึงขออนุญาตรบกวนสอบถามว่า
1. นาย บี จำเป็นจะต้องแบ่งมรดกโดยมีสัดส่วนเท่าๆกันหรือไม่ หรือสามารถแบ่งตามที่เห็นสมควรได้ครับ
2. กรณีที่แบ่งให้แก่ทายาทไม่เท่ากัน และมีการฟ้องร้องกัน จะสามารถนำข้อความที่ระบุในพินัยกรรมนี้มาโต้แย้งได้หรือไม่
3. กรณีที่นาย เอ ไม่มีภรรยา และไม่มีบุตร แต่มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ชื่อ นาย ซี ซึ่งนาย ซี ได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว แต่นาย ซี มีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และมีบุตรในสมรส 1 คน และมีบุตรกับภรรยาเก่าที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสอีก 1 คน ขอรบกวนสอบถามว่า ใครจะเป็นผู้มีสิทธิ์รับมรดกแทนนาย ซี ครับ
1. ต้องแบ่งตามสิทธิที่ทายาทแต่ละคนพึงได้ตามกฎหมาย จะเลือกว่าจะให้คนนั้นเท่านั้นคนนี้เท่านี้ตามความพอใจไม่ได้
2. ไม่ได้ เพราะถ้าคุณแบ่งให้เขาผิดไปจากสิทธิที่เขาจะพึงได้ เขาก็ต้องฟ้องโต้แย้ง
3. ขึ้นอยู่กับว่าบุตรภรรยาเก่าที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น นาย ซีได้รับรองบุตรไว้หรือไม่ ถ้าไม่ได้รับรองบุตรไว้ บุตรที่เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรสย่อมได้รับมรดกแทนนาย ซี แต่บุตรจากภรรยาที่เกิดจากภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเขาอาจร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้เขาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ในกรณีเช่นนี้ บุตรทั้งสองคนก็ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่นาย ซี ได้