ค่าจ้างตามกฎหมายปกครอง
สวัสดีค่ะขออนุญาตสอบถามค่ะ ดิฉันเป็นข้าราชการพยาบาลวิชาชีพในรพ.รัฐค่ะ มีเรื่องรบกวนสอบถามค่ะ เนื่องด้วยดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราวและบรรจุข้าราชการ ก.ย51' สตาร์ทเงินเดือนที่7940- แล้วต่อมาปี55'สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศให้ป.ตรีบรรจุเงินเดือนหมื่นห้าพันบาทเมื่อปี55' โดยที่ดิฉันและหลายๆคนขณะนั้นเงินเดือนเพิ่งจะไต่ถึง13,500- ซึ่งได้ยังไม่ถึงรุ่นน้องที่บรรจุใหม่ ปรากฎว่ามีการเรียกร้องความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยามา โดยมีการใช้สูตรคำนวณที่เกี่ยวข้องคือเงินเดือนสุดท้ายตอนเป็นลูกจ้างก่อนบรรจุข้าราชการ โดยระบุว่ามิให้นำเงินอื่นๆเช่นพตส. ect. (โดยไม่ได้พิมพ์ถึงค่าครองชีพไว้ในหนังสือของกพ.) มาคำนวณร่วมด้วยซึ่งดิฉันตอนนั้นค่าจ้างสุทธิตอนเป็นลูกจ้างในเดือนสุดท้ายเงินเดือนอยู่ที่ 14,000- แต่ทางรพ.ได้แจกแจงไว้ว่าเป็น ฐานเงินเดือน10,030- + ค่าครองชีพ3,970- รวมเป็นเงินสุทธิ 14,000-ที่ดิฉันได้รับ
ปรากฎว่าทางกรมการแพทย์นำไปคำนวณให้ใช้เพียงฐานเงินเดือนเท่านั้นเหตุผลเพราะตรงระบุคำว่า"ค่าจ้างสุดท้าย" มิรวมถึงค่าอื่นๆ มาคำนวณ ทำให้หลายคนในกรมการเเพทย์คำนวณออกมาแล้วได้รับการเยียวยาโดยขึ้นเงินเดือนเพียง 290ถึง2,000(แล้วแต่ละ โรงพยาบาลจะแจกแจงเงินออกเป็นฐานและค่าครองชีพเท่าไหร่) กล่าวอ้างถึงความหมายของค่าจ้างในพรบ.แรงงานมาตรา5 ให้ความหมายค่าจ้างไว้ว่า เงินเดือนที่จ่ายเท่ากันทุกเดือนและรวมถึงค่าครองชีพด้วย ซึ่งดิฉันได้ทำหนังสือท้วงไปแต่ก็ไม่เป็นผล ยังคงใช้ฐานเงินเดือนมาคำนวณเช่นเดิม อย่างนี้ดิฉันตอนนั้นเป็นลูกจ้างในรพ.รัฐสามารถใช้กฎหมายแรงงานมาตรา5ไปร้องเรียนกรมการแพทย์ให้พิจารณาใหม่ได้หรือไม่ค่ะ และเนื่องจากรพ.รัฐใช้กฎหมายปกครอง คำว่าค่าจ้างในความหมายของกฎหมายปกครองนั้นรวมถึงเงินค่าครองชีพด้วยหรือไม่ค่ะ เพื่อให้คนที่ได้รับการเยียวยาน้อยมากๆทั้งที่บรรจุก่อนได้รับการเยียวยาเพิ่มขึ้น เหมาะสมและได้รับความเป็นธรรม รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ |