ทางบริษัทฯ เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้กับทาง บสท. ต่อมา บสท.ได้หมดวาระ และโอนหนี้ต่อไปยัง บสก.เมื่อปี 2555 เมื่อย้ายไปบสก.ทางบริษัทฯ ชำระหนี้ให้ทางบสก.ได้ไม่ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เดิมที่ทำกับบสท. และได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่บสก.ว่า ไม่ต้องชำระเข้ามาแล้ว ให้รอปรับโครงสร้างหนี้ใหม่กับบสก.ดีกว่า เพราะยังไงตอนนี้ก็ผิดสัญญาแล้ว ชำระเข้ามาไม่มีประโยชน์ บริษัทฯ จึงไม่ชำระหนี้เข้าไป จนมาถึงประมาณปี 2558 เจ้าหน้าที่บสก.เริ่มติดต่อเข้ามาเพื่อหาแนวทางการชำระหนี้ ทางบริษัทฯให้ความร่วมมืออย่างดีในการหารือแนวทางการชำระหนี้หลายครั้ง แต่ตัวเลขที่บริษัทฯมีความสามารถในการผ่อนชำระ กับตัวเลขที่ทาง บสก.เสนอให้ชำระ ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั้ง ล่าสุด 4 เม.ย. 60 บสก.ยื่นฟ้องชำระหนี้กับบริษัทฯ พร้อมอ้างว่า บริษัทไม่ให้ความร่วมมือในการชำระหนี้ บริษัทจึงมีคำถามอยากเรียนถามท่านอ.มีชัย ดังนี้
1. เนื่องจาก บสท. และ บสก. ถูกจัดตั้งขึ้นมาต่างวาระ ต่างวัตถุประสงค์กัน บริษัทสามารถใช้กฎหมายของบสท.ที่หมดวาระไปแล้ว ในการต่อสู้คดีได้หรือไม่ หรือต้องอิงกับกฎหมายของบสก.เพราะเป็นเจ้าหนี้ใหม่แล้ว
2. หากบริษัทสามารถใช้ พรก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พุทธศักราช 2544 ที่หมดวาระไปแล้วมาอ้างถึงในการต่อสู้คดีได้ บริษัท จะสามารถนำคู่มือแนวทางการปฎิบัติงานของ บสท. ที่ บสท.แจกให้กับลูกหนี้ มาใช้อ้างอิงร่วมด้วยได้หรือไม่
3. ศาลนัดไกล่เกลี่ยครั้งแรก วันที่ 26 มิ.ย.60 นี้ ทางบริษัทฯจำเป็นต้องหาทนายที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของกฎหมาย บสท. และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้คำแนะนำในทางที่ถูกต้อง บริษัทฯจึงอยากขอความกรุณาแก่ท่านอ.มีชัย ช่วยแนะนำสำนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ให้แก่บริษัทฯ จักขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง เนื่องจากเป็นคดีที่สำคัญและมีผลต่อความอยู่รอดของบริษัทฯและครอบครัว (ตอบส่วนตัวมาทางอีเมล์ก็ได้ค่ะ)
1. ก็ต้องใช้ความสัมพันธ์ใหม่กับ บสก.เป็นหลัก เว้นแต่ในส่วนที่มีข้อตกลงอยู่กับ บสท.เดิม
2. ถ้าเป็นเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ ก็นำมาใช้อ้างอิงได้
3. จนปัญญาจริง ๆ ไม่รู้จะแนะนำใครให้