ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052507 พรบ.ประกันสังคมไพโรจน์15 มิถุนายน 2560

    คำถาม
    พรบ.ประกันสังคม
    ผมพบการปฎิบัติหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม ไม่เป็นไปตามพรบ.ประกันสังคม ไม่ทรามมาก่อนว่าท่านมีชัย มีเว็ปถามตอบนี้ เพิ่งพบวันนี้ก็เลยส่งมาถามท่านเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ ที่จริงผมส่งเรื่องร้องเรียนไปที่สำนักนายก วันที่ 23 พค.60 และที่ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน วันที่ 29 พค.60 และยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 13 มิย.60 นี้
    ผมเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม(สปส.) ตามมาตรา 33 ตั้งแต่พระราชบัญญัติประกันสังคมมีผลบังคับใช้ ปี 2533 เป็นต้นมา จนถึงช่วงปลายปี 2553 เป็นผู้ว่างงาน ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จนถึงเดือน สิงหาคม 2559 ได้ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนกับ สปส. และเมื่ออายุครบ 55 ปี ใน เดือน กุมภาพันธ์ 2560 ได้ยื่นขอรับเงินบำนาญชราภาพกับ สปส. ต่อมา วันที่ 16 เมษายน 2560 สปส. ได้ส่งเอกสารแจ้งเงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับ เป็นเงิน จำนวน 1,164 บาท ด้วยความสงสัยจึงไปค้นหาแล้วได้ศึกษาพระราชบัญญัติประกันสังคม ทุกฉบับ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พบการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวง อยู่ 2 ประเด็นดังต่อไปนี้

                    ประเด็นที่ 1 สปส. ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ พ.. 2550 (ข้อ 2)  เรื่องการคำนวณคิดหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนเงินบำนาญชราภาพ กฎกระทรวง ระบุไว้ว่า  "การจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ ยี่สิบของค่าจ้างเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง" กฎกระทรวงกำหนดให้ใช้ ค่าจ้าง มาคิดคำนวณค่าเฉลี่ย และตามพระราชบัญญัติประกันสังคมได้ให้ความหมายของค่าจ้างไว้อย่างชัดเจน ในมาตรา 5 "ค่าจ้าง" หมายความว่า "เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณหรือจ่ายในลักษณะใดหรือ โดยวิธีการใดและไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร" แต่ สปส. ไม่ปฏิบัติตาม กลับไปนำเอาเงินฐานที่ใช้ในการคิดหาเงินสมทบตามมาตรา 39 จำนวน 4,800 บาท ซึ่งไม่ใช่ค่าจ้าง มาเป็นตัวเฉลี่ยกับค่าจ้างจริง ทำให้ค่าเฉลี่ย ค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายของผู้ประกันตน ต่ำจากความเป็นจริง  และเมื่อนำมาคิดเงินบำนาญชราภาพ ด้วยอัตราร้อยละ 20 ทำให้ได้เงินบำนาญชราภาพที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

                                    ประเด็นที่ 2 วิธีการนับเดือนที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบของสปส. ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับที่ 3 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2542  มาตรา 76 ระบุให้ "ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม" ประกอบกับในมาตรา 42 ระบุว่า "เพื่อก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ประกันตนในการขอรับประโยชน์ทดแทนตามลักษณะ 3 ให้นับระยะเวลาการประกันตนตาม มาตรา 33 และหรือมาตรา 39 ทุกช่วงเข้าด้วยกัน" จากข้อกำหนดตามมาตรา 42 และมาตรา 76 หมายความว่า ต้องนับรวมเงินสมทบ ทุกเดือนที่ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบ แต่ในทางปฏิบัติ สปส. เลือกที่จะนับ จำนวนเดือนการจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2542 แล้วมาเริ่มจ่ายบำนาญชราภาพในปี 2557

                    จากวิธีปฏิบัติไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติทั้งสองประเด็นที่กล่าวข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้า และผู้ประกันตน ทุกคนที่ครบกำหนดรับเงินชดเชยชราภาพไปแล้วได้รับความเสีย และผู้ประกันตนที่ยังเป็นผู้ประกันตนอยู่จะได้รับความเสียหายเมื่อครบกำหนดการรับเงินชดเชยชราภาพด้วย จะมีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพไป ในช่วงปี 2549 ถึงปี 2556 เสียสิทธิการรับเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งให้ผลประโยชน์ที่มากกว่าไป

    ผมขอให้ท่านช่วยตรวจสอบว่าเป็นจริงตามที่ผมเข้าใจหรือไม่ครับ และถ้าจริงผมขอวิวอนที่ได้ช่วยเหลือผมในเรื่องนี้ด้วยครับ

    ถ้าหากว่าท่านไม่สามารถตอบทางเว็ปนี้ ก็ขอท่านได้โปรดตอบผมทางอีเมล์ด้วยนะครับ 

    ด้วยความนับถืออย่างสูง

    ไพโรจน์




    คำตอบ
    ถ้าดูกฎกระทรวงในเรื่องแรก ความเข้าใจของคุณก็น่าจะถูก แต่ในเรื่องที่สอง ไม่แน่ใจว่าเขาคิดผิดอย่างไร แต่เมื่อคุณฟ้องศาลแล้วก็ควรรอฟังคำพิพากษาของศาลต่อไป ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ศาลปกครองเขาดูให้แน่ด้วยว่า คดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง เผื่อผิดศาลจะได้ไม่เสียเวลาเปล่า ๆ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 มิถุนายน 2560