ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052541 การลงมติของคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ12 กรกฎาคม 2560

    คำถาม
    การลงมติของคณะกรรมการ

    เรียน อ.มีชัยที่เคารพ

    ขอหารือเกี่ยวกับการลงมติของคณะกรรมการสภาวิชาชีพ กรณีผู้ประกอบวิชาชีพถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษทางจรรยาบรรณ ซึ่งพระราชบัญญัติกำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

    (1)    ยกข้อกล่าวหาหรือกล่าวโทษ

    (2)    ว่ากล่าวตักเตือน

    (3)    ภาคทัณฑ์

    (4)    พักใช้ใบอนุญาตตามกำหนดที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี

    (5)    เพิกถอนใบอนุญาต

    ทั้งนี้ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการประชุมของคณะกรรมการสภาวิชาชีพของพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพดังกล่าว กำหนดว่ามติของที่ประชุม (ในเรื่องอื่นๆ) ให้ถือเสียงข้างมาก แต่กรณีมติให้พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ

    มีประเด็นที่จะขอเรียนถามอาจารย์ดังต่อไปนี้ครับ

    ประเด็นที่ 1 ในการดำเนินการประชุมเพื่อลงมติดังกล่าว ซึ่งข้อบังคับสภาวิชาชีพฯ ว่าด้วยการประชุมของคณะกรรมการไมได้กำหนดรายละเอียดวิธีการขั้นตอนการลงมติในกรณีนี้ไว้ ประธานที่ประชุมสามารถดำเนินการประชุมดังต่อไปนี้ได้หรือไม่ และการดำเนินการแบบใดมีความเหมาะสมและชอบธรรมมากกว่ากันครับ

    (ก)    ให้คณะกรรมการทุกคนเลือกว่าจะลงมติตาม (1) – (5) ในการลงมติครั้งเดียว (ซึ่งในการลงมติแบบนี้ มีหลายครั้งที่คณะกรรมการเสียงข้างมากมีความเห็นให้ลงโทษพักใช้ใบอนุญาตแต่จำนวนไม่ถึง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งคณะ และความเห็นของกรรมการที่มีจำนวนมากเป็นลำดับรองลงมา คือเห็นควรให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ซึ่งทำให้การลงโทษพักใบอนุญาตไม่สามารถทำได้เพราะจำนวนเสียงไม่ถึง 2 ใน 3 และการลงโทษภาคทัณฑ์ก็ไม่ใช่เสียงข้างมาก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าหากมีคำสั่งลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

    (ข)    ถามความเห็นของคณะกรรมการทีละประเด็น ได้แก่ (1) ที่ประชุมมีมติให้ยกข้อกล่าวหาหรือไม่ (2) ที่ประชุมมีมติให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือไม่ (3) ที่ประชุมมีมติให้ภาคทัณฑ์หรือไม่ (4) ที่ประชุมมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตหรือไม่ (5) ที่ประชุมมืมติให้เพิกถอนใบอนุญาตหรือไม่

    (ค)    ถามความเห็นของคณะกรรมการทีละประเด็น แต่เรียงลำดับจากโทษมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ (1) ที่ประชุมมืมติให้เพิกถอนใบอนุญาตหรือไม่ (2) ที่ประชุมมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตหรือไม่ (3) ที่ประชุมมีมติให้ภาคทัณฑ์หรือไม่ (4) ที่ประชุมมีมติให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือไม่ (5) ที่ประชุมมีมติให้ยกข้อกล่าวหาหรือไม่

    ประเด็นทื่ 2 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวโทษอยู่ระหว่างการถูกพักใช้ใบอนุญาตอยู่แล้ว แต่มีกรณีจรรยาบรรณอื่นเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสภาวิชาชีพ และคณะกรรมการมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นอีกครั้งหนึ่ง ขอหารือว่าในการพักใช้ใบอนุญาตครั้งที่สองจะเริ่มนับเวลาการพักใช้ต่อจากกำหนดสิ้นสุดการพักใช้ใบอนุญาตครั้งแรกได้หรือไม่ครับ หรือจำเป็นต้องเริ่มนับเวลาพักใช้ใบอนุญาตจากวันที่คณะกรรมการมีมติ ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการพักใช้ใบอนุญาตครั้งแรกและครั้งที่สองมีบางส่วนทับซ็อนกันครับ

    ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

    คำตอบ

    1. ตามปกติก่อนที่คณะกรรมการจะพิจารณาก็น่าจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการไปสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนเมื่อสอบสวนแล้วก็ต้องทำรายงานเสนอคณะกรรมการพร้อมทั้งเสนอว่าจะควรลงโทษในระดับใด  การมีมติของคณะกรรมการก็จะมีมติแต่เพียงว่าจะเห็นด้วยกับคณะกรรมการสอบสวนหรือไม่

    2. ก็กำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้พักใช้ตั้งแต่เมื่อไร ในกรณีที่มีการพักใช้อยู่ก่อน ก็ต้องกำหนดให้พักใช้ตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการพักใช้วันก่อน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 กรกฎาคม 2560