เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ
ผมเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นตาม พรบ. ปัจจุบันอายุ 60 ปี ทำงานมานาน 36 ปี จะเกษียณในเดือนกันยายน 2560 ปัจจุบันหากพนักงานเกษียณอายุจะได้รับเงินชดเชยจำนวน 300 วัน ทราบข่าวว่า ครม.เห็นชอบในหลักการร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน โดยมีสาระสำคัญเรื่อง เพิ่มอัตราค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน เดิมกฎหมายเก่ากำหนดไว้ว่าต้องทำงานครบ 10 ปี ขึ้นไปถึงจะได้รับค่าชดเชย 300 วันเท่านั้น (อ้างถึง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 18 (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป)
อยากเรียนมาถามว่าพนักงานรัฐวิสากิจจะได้รับเงินชดเชยกรณีเกษียณอายุ ตาม พรบ.คุ้มตรองแรงงาน ที่ ครม.เห็นชอบหรือไม่ ขอบคุณครับ
พนักงานรัฐวิสาหกิจที่จะเกษียณ