ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052596 มรดกสุนีย์23 สิงหาคม 2560

    คำถาม
    มรดก

    พี่ชายได้จดทะเบียนสมรถกับ นาง ก. มีบุตรด้วยกัน 1 คน บิดา มารดา นาง ก. และ บุตร

    ยังมีชีวิตอยู่ ขณะนี้พี่ชายดิฉันได้เสียชีวิตแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีความสัมพันธ์กับผู้หญิง 2 คน

    คนแรกสมมติชื่อ นาง ข และนาง ข มีบุตรติดมา 2 คน สมมติชื่อ นาย น และ น.ส. นิ ซึ่งพี่ชายดิฉัน นาง ข และบุตร นาง ข (นาย น. และ น.ส. นิ) ได้อยู่ร่วมบ้านเดียวกันมาระยะเวลาหนึ่ง และได้ส่งเสียเลี้ยงดูทุกคนในบ้านระหว่างที่อยู่ด้วยกันกับ นาง ข. (ชื่อบ้านเป็นของ นาง ข) โดยที่พี่ชายดิฉันไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับ นาง ก. ในขณะเดียวกันก็ยังส่งค่าเลี้ยงดูให้กับ นาง ก. (ภรรยาที่สมรสกัน) อย่างสม่ำเสมอ ต่อมา นาง ข. ได้เสียชีวิต ได้เขียนพินัยกรรมระบุให้บ้านที่อยู่มีชื่อร่วมกันระหว่างบุตรของ นาง ข และพี่ชายดิฉัน  ต่อมาพี่ชายดิฉันได้ไปมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง สมมติชื่อ นาง ค. ซึ่งมีลูกติดมาอีก 2 คน โดยที่พี่ชายดิฉันก็ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับ นาง ก. และลูกสาวคนโตของ นาง ค. ได้มีความสัมพันธ์ นาย น. (แฟน) กับ ลูกชายของ นาง ข. และได้อยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับลูกของ นาง ข. (นาย น.) ขณะนี้พี่ชายดิฉันได้เสียชีวิตลงแล้ว แต่ก่อนที่จะเสียชีวิต พี่ชายดิฉันได้เรียกลูกสาว (บุตรกับ นาง ก.) กับสามี น้องสาวของพี่ชายดิฉัน สมมติ ชื่อ นาง อ. และ นาง ค. มาหา โดยได้บอกกล่าวด้วยวาจาให้ทุกคนทราบว่าให้เงินในบัญชีธนาคารที่มีให้กับ นาง ค.  ให้สร้อยคอตาแมวให้กับลูกสาวของ นาง ข. คือ น.ส.นิ  ให้รถเก๋งกับหลานสาว (ลูกของ นาง อ.) ส่วนที่เหลือให้กับบุตร(บุตรกับ นาง ก.) ซึ่งพี่ชายดิฉันได้ถาม นาง ค. ว่าจะคัดค้านอะไรมั้ย แต่นาง ค.ไม่คัดค้าน ซึ่งคำสั่งเสียดังกล่าวก่อนเสียชีวิตไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร  บุตรของพี่ชายดิฉันได้ทำตามเจตนาของบิดา(พี่ชายดิฉัน) โดยให้เงินในบัญชีกับ นาง ค.ไปเรียบร้อยแล้ว ให้สร้อยคอกับลูกสาวของ นาง ข. (น.ส.นิ ) แล้ว ส่วนรถยนต์ที่จะให้กับหลานสาว (ลูกของ นาง อ.) (หลานสาวของพี่ชายดิฉัน) ไม่สามารถไปเอามาได้ เนื่องจาก ลูกชายคนโตของ นาง ข. (นาย น.) และ เป็นลูกเขยของ นาง ค. ไม่ยอมให้ และเอารถไปใช้โดยบอกว่าต้องใช้งาน และกล่าวอ้างว่าพี่ชายของดิฉันบอกให้ไว้ใช้ และยังกล่าวอ้างอีกว่าตอนที่พี่ชายดิฉันบอกว่าจะให้อะไรกับใครเขาไม่ได้อยู่ด้วย และต่อมา นาง ค. ซึ่งได้รับรู้เจตนามาตั้งแต่แรกกลับคำพูดว่าพี่ชายดิฉันไม่ได้พูดเรื่องมอบสมบัติ และ นาย น. ก็ไม่ยอมให้รถคืนมา (รถเป็นชื่อของพี่ชายดิฉัน)

    ขอเรียนถามว่า

    1.      นาย น. มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้รถยนต์ได้หรือไม่ ถ้ามีสิทธิจะได้ในฐานะอะไรด้วยเหตุใด ถ้าไม่มีสิทธิ์จะมีวิธีการที่จะดำเนินการเอารถคืนจาก นาย น. อย่างไรให้ถูกต้อง และถ้า นาย น. ไม่มีสิทธิ์และเอารถไปใช้จนได้รับความเสียหายจะเรียกค่าเสียหายจาก นาย น. ได้หรือไม่ ใครจะต้องเป็นผู้เรียกร้อง

    2.      นาง ค. มีสิทธ์เรียกร้องอะไรได้หรือไม่

    3.      บุตรของ นาง ข (นาย น. และ น.ส. นิ) มีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินโดยอ้างว่าทรัพย์สินของพี่ชายดิฉันได้มาตอนอยู่กับ นาง ข. ซึ่งถือเป็นสินสมรสได้หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ พี่ชายดิฉัน และ นาง ข. ไม่ได้สมรสกัน แต่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน แต่ นาง ก. กับ พี่ชายดิฉันอยู่คนละบ้านและไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับ นาง ก.

    4.      บ้านที่ นาง ข. ระบุให้ นาย น.  น.ส. นิ และ พี่ชายดิฉัน ร่วมกัน ซึ่งยังมีภาระต้องส่งธนาคารอยู่ ภาระจะตกเป็นของใคร

    คำตอบ

    เรียงลำดับไม่ถูก เอาเป็นว่า เมื่อพี่ชายคุณยังไม่ได้หย่ากับภรรยาเก่า ใครที่ไปได้มาในระหว่างนั้น ก็ไม่มีสิทธิอะไร ยิ่งเป็นลูกของผู้หญิงอื่น ไม่ใช่ลูกของพี่ชายคุณก็ยิ่งไม่มีสิทธิอะไรในมรดกของพี่ชายคุณ เมื่อภรรยาของพี่ชายคุณตาย เขาทำมรดกยกทรัพย์ให้ลูกเขากับพี่ชายคุณ ส่วนที่เป็นของพี่ชายคุณก็ตกได้แก่ลูกของเขาทั้งหมด คนอื่นไม่มีสิทธิได้อะไร  ถ้าเขาให้อะไรใครไปก็เป็นสิทธิของเขา อะไรที่ยังไม่ได้ให้ใครไป คนที่เอาไปก็ต้องเอามาคืน ถ้าไม่คืนก็ฟ้องเรียกคืนได้ ส่วนหนึ้นั้น ก็ตกได้แก่ทายาทของเขาคนเดียว  แต่รับผิดไม่เกินมรดกท่ีได้รับมา


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 สิงหาคม 2560