สวัสดีค่ะ
ดิฉันขอสอบถามเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมทรัพย์สิน และที่ดิน ให้กับน้องชายและหลานชาย ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นลูก และเป็นหลาน ของคุณป้าที่ได้แต่งงานกับ คุณลุง ชาวเนเธอร์แลนด์ (พี่สาวของคุณพ่อ) ต้องทำพินัยกรรมแบบธรรมดา หรือ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ หรือแบบอื่นๆ ตามคำแนะนำค่ะ แล้วจะต้องเอาพินัยกรรมที่ทำนี้ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้อีกฝ่ายเก็บไว้ด้วยหรือไม่ค่ะ (พินัยกรรมที่ได้กล่าวมาในข้างต้นมี : ที่ดิน, บ้าน ทรัพย์สินภายในบ้านทั้งหมด และทรัพย์สินส่วนบุคคลของดิฉันเอง ต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ผู้ได้รับพินัยกรรม ได้รับรายการทรัพย์สินครบถ้วนตามที่ได้กล่าวไป ที่ถูกต้องตามกฏหมายไทย (ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับกฏหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยหรือไม่)
ขอขอบคุณค่ะ
ทำำแบบไหนก็ได้ ถ้ามีทนายความก็ให้ทนายความเขาทำให้ แต่ถ้ามีความรู้อยู่บ้างก็ทำพินัยกรรมด้วยตนเองได้ โดยเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ หากมีผิด ตก ขีดฆ่า ที่ตรงไหน ก็ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ที่ตรงนั้นทุกแห่ง ส่วนแบบนั้นอาจค้นหาเอาจากกูเกิ้ล ก็น่าจะมี
ถ้าต้องการให้ทรัพย์สินตกเป็นของใคร ก็ระบุให้ชัดว่าชิ้นไหนให้ตกเป็นของใคร จำนวนเท่าไร ถ้าเป็นโฉนด ก็ระบุเลขโฉนด และเนื้อที่ ที่ตั้งให้ครบถ้วน เมื่อระบุแล้ว เพื่อป้องกันหากมีอะไรหลงเหลือ หรือได้มาในภายหลังจากทำพินัยกรรม ก็ให้มีข้อสุดท้ายว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ระบุไว้ และที่จะมีขึ้นในภายหน้า จะให้ตกเป็นของใคร ก็ระบุเสียให้ชัด
ถ้าเป็นพินัยกรรมที่คุณจะทำ คุณก็ทำตามกฎหมายไทย ทำเป็นภาษาไทย โดยไม่ต้องทำคำแปล แต่ถ้าอยากให้เขารู้ จะแปลก็ได้ แต่คำแปลนั้นไม่ใช่พินัยกรรม