ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052782 การโอนกรรมสิทธิ์และรับเงินค่าทดแทน(กรณีหน่วยงานรัฐด้วยกัน)กรรมสิทธิ์7 มีนาคม 2561

    คำถาม
    การโอนกรรมสิทธิ์และรับเงินค่าทดแทน(กรณีหน่วยงานรัฐด้วยกัน)

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์

            ในการปรึกษาครั้งนี้  ขออนุญาตใช้ชื่อหน่วยงานเป็นตัวย่อครับ

    กระผมมีเรื่องปรึกษาและขอความรู้ ดังนี้

    กรณีที่ 1 การโอนกรรมสิทธิ์และการรับเงินค่าทดแทนโดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

    ในการดำเนินกิจการด้านขนส่งโครงการที่ 1 ของ รฟม.(สายเฉลิมรัชมงคล) ซึ่งแจ้งให้ รฟท. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการของหน่วยงาน ก ให้แก่ รฟม. โดยที่ รฟม. และ รฟท. ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติทั้งคู่  แต่ รฟท. ก่อตั้งมาก่อนนานมาก  โดย รฟม. กับ รฟท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ร่วมกันตามมติ ครม.ตามที่กล่าวอ้างไว้ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา และได้กำหนดเงินค่าทดแทนไว้ด้วย โดยให้ รฟท. ไปดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ รฟม. ต่อไป  

    1.1      รฟท. จำเป็นต้องเสนอ ครม.เพื่อขอมติ ครม.พิจารณาตาม พรบ.ของ รฟท. ที่ให้อำนาจ ครม.จำหน่ายจ่ายโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือไม่  ทั้งนี้ พรบ.ของ รฟท. ได้กำหนดในเรื่องการจำหน่ายจ่ายโอนอสังหาริมทรัพย์ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม.

    1.2      ตามข้อ 1 ถ้าจำเป็นเสนอและไม่จำเป็นเสนอ  มีแนวทางใดที่จะดำเนินการเพื่อมิให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ไปยัง รฟม.

    1.3      เมื่อ รฟท. ไปรับเงินค่าทดแทน แต่ รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนโดยแจ้งว่า รฟท. ยังไม่ทำสัญญาซื้อขายกับ รฟม.  จึงมีคำถามว่า รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้ได้หรือไม่  ซึ่ง รฟม. ได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ไปแล้ว และจะมีวิธีใดดำเนินการเพื่อรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวเนื่องจาก รฟม. เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินไปนานหลายปีแล้ว

    กรณีที่ 2 การรับเงินค่าทดแทนโดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน

    ในการดำเนินกิจการด้านขนส่งโครงการที่ 2  ของ รฟม.(สายสีน้ำเงิน) ซึ่งได้แจ้งให้ รฟท. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการของ รฟม. ให้แก่ รฟม. โดยที่ รฟม. กับ รฟท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินของ รฟท. โดยให้ รฟท. ไปดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ รฟม. ต่อไป 

    2.1      รฟท.  จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ รฟม. หรือไม่  แต่กรณีนี้มิได้มีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

    2.2      มีแนวทางใดที่จะดำเนินการเพื่อมิให้มีการโอนกรรมสิทธิ์

    2.3      เมื่อ รฟท. ไปรับเงินค่าทดแทน แต่ รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนโดยแจ้งว่าหน่วยงาน ข ยังไม่ทำสัญญาซื้อขายกับ รฟม.  จึงมีคำถามว่า รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้ได้หรือไม่  ซึ่ง รฟม. ได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ไปแล้ว และจะมีวิธีใดดำเนินการเพื่อรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวเนื่องจาก รฟม. เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินไปแล้ว

     

    กรณีที่ 3 การรับเงินค่าทดแทนตามหนังสือเชิญทำความตกลงรับเงินค่าทดแทนในโครงการต่างๆของ รฟม.

    3.1      ตามกรณีที่ 3 จะเป็นการที่หน่วยงาน ก มีหนังสือแจ้งมายังหน่วยงาน ข แจ้งขอใช้ที่ดินของหน่วยงาน ข เพื่อโครงการก่อสร้างเส้นทางขนส่งสายสีต่างๆ (สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีชมพู)   เมื่อ รฟท. ไปรับเงินค่าทดแทน แต่ รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนโดยแจ้งว่า รฟท. ยังไม่ทำสัญญาซื้อขายกับ รฟม. จึงมีคำถามว่า รฟม. ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้ได้หรือไม่  ซึ่ง รฟม. ได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ไปแล้ว และจะมีวิธีใดดำเนินการเพื่อรับเงินค่าทดแทนดังกล่าวเนื่องจาก รฟม. เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินไปแล้ว

     

    อนึ่ง 1) เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายว่าด้วยการเวนคืนเป็นกฎหมายมหาชน ใช้บังคับเอาแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชนเท่านั้น มิได้ใช้บังคับกับหน่วยงานรัฐ  ฉะนั้นแล้ว เมื่อ รฟท. มิได้ตกอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน เงินค่าทดแทนจึงมิใช่ค่าทดแทนในการโอนกรรมสิทธิ์ แต่มีความหมายเป็นเงินชดเชยค่าความเสียหายและการขาดประโยชน์ของ รฟท. ผู้เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ รฟม. ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในกิจการของ รฟม.   ความเข้าใจของกระผมถูกต้องหรือไม่             2) รฟท. มีระเบียบ/หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้หน่วยงานราชการของรัฐ หรือเอกชน เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินของรฟท. รองรับอยู่แล้ว โดยมิต้องโอนกรรสิทธิ์แต่อย่างใด ซึ่งตามที่ได้เคยประชุมหารือร่วมกันระหว่าง รฟม. กับรฟท.   รฟท.ได้แจ้งให้รฟม. ทราบแล้ว แต่มิได้แจ้งเป็นหนังสือ  รฟม. ก็ยังมีความต้องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. อยู่นั่นเอง  มีแนวทางใดที่จะให้ รฟม. เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟท. ตามระเบียบ/หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้หน่วยงานราชการของรัฐใช้ที่ดินเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐหน่วยงานอื่นที่ รฟท. ได้อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินไปแล้วหลายหน่วยงาน ซึ่งไม่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์   3) รฟม. สามารถนำขั้นตอนวิธีปฏิบัติของกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนมาใช้เทียบเคียงปฏิบัติต่อหน่วยงานภาครัฐเฉกเช่นใช้บังคับกับเอกชนได้หรือไม่  เมื่อ รฟท. มีระเบียบ/หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้หน่วยงานราชการของรัฐใช้ที่ดินรองรับอยู่แล้ว

    ทั้งนี้ ทั้ง 2 เรื่อง ยังค้างดำเนินการและยังรับเงินจาก รฟม.ไม่ได้จนถึงปัจจุบัน

     

    ขอความเมตตาท่านอาจารย์มีชัย ให้ความรู้ผมด้วยครับ  ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

     

                                                                                                                                    กรรมสิทธิ์
    คำตอบ
    ดูคำตอบที่ คำถาม 52769
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มีนาคม 2561