ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052790 ขอความอนุเคราะห์เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษ เพื่อเสนอความเห็นต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 ฉบับ นายอภินันท์16 มีนาคม 2561

    คำถาม
    ขอความอนุเคราะห์เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษ เพื่อเสนอความเห็นต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 ฉบับ

    เรียน  ประธานคณะกรรมการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์)

     

    ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างพรบ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กทม พัทยา เทศบาล อบต.” จำนวน 6 ฉบับไปแล้วนั้น โดยปัจจุบันได้มีการรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561  ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ศึกษาร่างดังกล่าวและได้ติดตามการเสนอความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและการเสนอ ร่าง พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่นของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย มีหลายประเด็นที่ชมรมฯมองว่าน่าจะส่อเจตนาที่ไม่ชอบมาพากล เข้าข่ายเป็นการกีดกันสิทธิและส่อขัดกับรัฐธรรมนูญในหลักความเสมอภาคและเท่าเทียม รวมถึงเจตนาที่จะไม่ให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองซึ่งขัดกับนโยบายนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้มีคนหน้าใหม่ในระบบการเมืองมากขึ้น โดยหัวข้อที่ผิดปกติและหัวข้อที่ข้าพเจ้าขอนำเสนอความเห็นมีดังนี้

    1.   การเสนอให้แก้คุณสมบัติผู้สมัครฯ จากเดิมต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 1 ปี เสนอให้แก้เป็น 5 ปี ของกระทรวงมหาดไทย ขัดกับ ข้อเสนอ กกต.และ สปท. ซึ่งผ่านความเห็นจาก อปท.ทั่วประเทศ

    2.   กำหนดให้ผู้บริหาร จบ ปริญญาตรี แต่ก็อนุโลมให้ผู้ที่เคยเป็นแต่ไม่จบมีสิทธิ์สมัครได้

    3.   สนับสนุนร่าง พรบ.ฉบับของ กกต. ซึ่งเป็นกลางและเป็นการส่งเสริมการปฏิรูปทางการเมือง

    4.   ความเท่าเทียมและเสมอภาคของผู้สมัครเก่าและใหม่ รัฐบาลเร่งรีบและอยากให้เลือกเร็วๆ (อปท.บางแห่งวาระปกติ +รักษาการณ์ยาวถึง 7 – 8 ปี ควรเว้นวรรค หรือ ขยายระยะเวลาการหาเสียง)

    ในการนี้จึงขอความอนุเคราะห์ท่านช่วยพิจารณาอนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้าและคณะได้เข้าไปนำเสนอความเห็นต่อการตรากฎหมายทั้ง 6 ฉบับ เพื่อให้เป็นตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรากฎหมาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติของเราสืบไป

     จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอันจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเราต่อไป


    ข้อ 1

    การเสนอให้แก้คุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่น

    จากเดิมต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 1 ปี เสนอให้แก้เป็น 5 ปี โดยกระทรวงมหาดไทย

     

    ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ข้าพเจ้าและสมาชิกชมรมได้เข้าไปพบ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้อำนวยฝ่ายกฎหมาย เพื่อสอบถามในประเด็นการแก้ไขในเรื่องนี้ โดย ณ ขณะนั้นยังไม่ได้มีการเสนอ ซึ่งทั้ง 2 ท่านก็บอกว่าไม่น่าจะเสนอให้แก้ในประเด็นนี้ พอผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ก็มีการเสนอโดยใช้มติที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ซึ่งข้าพเจ้าได้ติดตามเหตุผลของการเสนอให้แก้ไขในประเด็นนี้กลับไม่พบเหตุผลของการแก้ไข แต่พบว่าเหตุผลที่แก้ไขก็เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 97 “ตามคำให้สัมภาษณ์ของอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2560 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5421 หัวข้อ เลือกตั้งท้องถิ่น วอร์มอัพก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ” ดังใจความตอนหนึ่งว่า “ประเด็นคุณสมบัติให้ยึดตามคุณสมบัติของ สส. เพราะไม่ต้องคิดมาก”

    ซึ่งหากพิจารณาในประเด็นเรื่องการยกระดับให้เหมือนกับ สส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 97 ก็ยิ่งผิดปกติเข้าไปใหญ่เพราะในรัฐธรรมนูญกำหนดเปิดกว้าง ก – แต่ความเห็นของกระทรวงมหาดไทยกลับตัด ข้อ (ข) และ ข้อ (ง) ออก ทำให้ผู้มีสิทธิ์สมัครสมาชิกสภาและผู้บริหารท้องถิ่นแคบลงกว่าเดิม ซึ่งดูแล้วเจตนาเหมือนมีความต้องการให้มีแต่นักการเมืองหน้าเก่า

    ข้อเสนอกระทรวงมหาดไทยขัดกับหน่วยงานอื่นที่ผ่านการรับฟังความเห็นจากทั่วประเทศ

    -       ผู้บริหาร มท. นั่งคิดกันเองไม่ผ่านความเห็นของ อปท. หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เจตนาคืออะไร

    -       ร่าง กกต. ยืน 1 ปีเหมือนเดิมและผ่านความเห็นทั่วประเทศ

    -       ร่าง สปท.ยืน 1 ปีและนำข้อ ข. . เพิ่มเติมไปด้วย ผ่านความเห็นทั่วประเทศ (หมดงบประมาณกับ สปท.เป็นพันล้านบาท ไม่เอามาใช้หรือ)

    เหตุผลประกอบที่ข้าพเจ้าขอนำเสนอในการคงคุณสมบัติ 1 ปี

     

    1.      การเปลี่ยนแปลงควรมีการศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียก่อน ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ยังหาเหตุผลในการแก้จาก 1 ปี เป็น 5 ปี ไม่ได้เลย เพราะการบริหารงานดูที่ความรู้ ความสามารถ ชื่อในทะเบียนบ้านไม่ได้บ่อบอกถึงความสามารถ ซึ่งข้าพเจ้าได้สรุปข้อดีและข้อเสียไว้ดังนี้

    1.      เกิดการพัฒนาตัวผู้สมัครและการแข่งขันในเชิงนโยบายมากขึ้น เมื่อมีการเปิดโอกาสให้มีผู้สมัครที่หลากหลาย ผู้สมัครแต่ละคนก็จะต้องปฏิรูปตนเองทั้งในเรื่องการศึกษา การจัดทำนโยบาย การบริหารงานให้โปร่งใส ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดและสำคัญที่สุดการที่จะบอกว่าผู้สมัครมีความรู้ ความสามารถ การมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกหรือเป็นตัวชี้วัดแต่อย่างใด

    2.      บางท้องถิ่นมีความเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด  จึงมีความจำเป็นต้องได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาบริหาร ซึ่งหากมีการแก้ไขตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็น 5 ปี ข้าพเจ้ามองว่าจะเป็นการถอยหลังลงคลอง อีกทั้งยังเป็นการกีดกันและขัดกับหลักความเสมอภาคและเท่าเทียม กรณีที่ข้าพเจ้าได้กล่าวว่าเป็นการกีดกันขัดกับหลักความเสมอภาคและเท่าเทียม เช่น ตารางด้านล่าง จะเห็นว่าตำบลลาดสวาย มีประชากรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3% รวม

     

     

     

    6 ปี เพิ่มประมาณ 9,700 คน (ข้อมูลจาก www.stat.dopa.go.th) ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถเสนอตัวเป็นผู้แทนได้เลย ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจปัญหาของพื้นที่มากกว่าผู้สมัครที่มีอยู่ก็เป็นได้


     



                                                         

                                                                                        

                                                                                    

    คำตอบ
    ถ้าคุณเป็นสมาชิกของสันนิบาตเทศบาล หรือ อบต หรือ อบจ ก็บอกความคิดเห็นของคุณไปยังนายกหรือประธานสันนิบาตหรือสมาคมที่สังกัดอยู่ เพราะเวลาคณะกรรมการพิจารณาเสร็จเบื้องต้นแล้ว จะเชิญมารับฟังความคิดเห็น
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มีนาคม 2561