ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052828 วัตถุประสงค์การตราพระราชกำหนดผู้สนใจ22 เมษายน 2561

    คำถาม
    วัตถุประสงค์การตราพระราชกำหนด
    อาจารย์ครับ
    เพราะอะไรในสมัยอดีตก่อนมีรัฐธรรมนูญ 2560 การตราพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรและเงินตราต้องตราในสมัยประชุมเท่านั้น
    และเพราะอะไรครับ หลักการนี้ถึงเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องตราในสมัยประชุมก็ได้
    ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

    คำตอบ

     การตราพระราชกำหนดที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น แยกเป็น ๒ ประเภท ประเภทแรก เมื่อมีเหตุสำคัญอันเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ก็สามารถตราพระราชกำหนดได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสมัยหรือนอกสมัยประชุม  ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ที่จะต้องทำเป็นการด่วนและลับ  รัฐธรรมนูญก่อนหน้าปี ๖๐ ยังกำหนดว่า "ในระหว่างสมัยประชุม" ซึ่งแปลกันว่าจะทำได้เฉพาะในสมัยประชุมเท่านั้น ถ้านอกสมัยประชุมไม่ได้ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เนื่องจากว่า ถ้าเป็นเรื่องภาษีและเงินตรา ซึ่งจะกระทบต่อประชาชนโดยตรง จึงประสงค์จะให้มีการเสนอต่อสภาเสียโดยเร็ว จะได้รู้ว่าสภาจะอนุมัติหรือไม่ เพราะถ้าออก พรก.นอกสมัยประชุม กว่าจะมีการประชุมครั้งต่อไปก็ไม่รู้ว่าอีกเมื่อไร   ต่อมาในปี ๒๕๓๔ ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องนี้ใหม่ โดยกำหนดว่า พรก.ทั่วไปนั้น ถ้าออกนอกสมัยประชุม ให้รัฐบาลจัดให้มีการเรียกประชุมสมัยวิสามัญโดยเร็ว ปัญหาที่เกรงอยู่ก็เป็นอันหมดไป แต่ผู้ร่าง รธน.ปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ไม่ได้สังเกตในเรื่องนี้ เวลาลอกก็ลอกตามที่เขียนใหม่ในปี ๒๕๓๔ (สำหรับย พรก.ทั่วไป) แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับ พรก.เรื่องภาษีฯ ก็ยังลอกของเดิมมา  มาในคราวนี้จึงแก้ไขเสียใหม่ เพราะถ้ามีความจำเป็นต้องออก พรก.เกี่ยวกับภาษีหรือเงินตรา เมื่อใด ก็สมควรดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องรอให้อยู่ในสมัยประชุม เพราะโลกพัฒนาไปเร็วมาก หากต้องรอจนเปิดสมัยประชุม ก็จะไม่ทันการณ์ได้  และเมื่อออกแล้ว ถ้าเป็นในสมัยประชุม ก็ต้องเสนอสภาในการประชุมคราวต่อไป  ถ้าเป็นการออกนอกสมัยประชุม ฝ่ายบริหารก็ต้องจัดให้มีการเรียกประชุมวิสามัญโดยเร็ว ด้วยวิธีนี้ ก็จะสามารถรักษาประโยชน์ส่วนรวม และคุ้มครองประชาชนได้ตามความประสงค์


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 เมษายน 2561