ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052836 จากคำถามที่ 052807 การปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหา คนในป่าสงวน3 พฤษภาคม 2561

    คำถาม
    จากคำถามที่ 052807 การปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหา
    1.เนื่องจากทภ.3 ผิดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตต่อกรมป่าไม้ คือ ไม่มาข้อใช้พื้นที่ใหม่เมื่อประกาศเป็นป่าสงวนฯ ในทางกฏหมาย กรมป่าไม้ หรือ ทภ.3 ที่จะมีอำนาจดูแลพื้นที่

    2.ถ้าราษฏรมีความจำเป็นจะต้องฟ้องต่อศาลปกครองฐานปล่อยปละละเลย ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายอันเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดทำให้ทรัพย์สินเสียหายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากการสั่งรื้อ ทุบ ทำลาย ราษฏรที่เดือดร้อนจะต้องฟ้องกรมป่าไม้ หรือ ทภ.3

    3.การที่องค์กรของภาคประชาชนยื่นขอใช้พื้นที่ตามระเบียบของกรมป่าไม้ (ม.16) กลับไม่ได้รับคำตอบหรืออธิบาย แต่กลับสั่งการให้หน่วยราชการในพื้นที่ขออนุญาตใช้ (ม.13 ทวิ) เป็นการเลือกปฏิบัต หรือ 2 มาตรฐานหรือไม่  และหากกรมป่าไม้อนุญาตให้หน่วยราชการ จะถือว่าเป็นการขัดต่อกฏหมายหรือไม่ เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นสำเร็จแล้ว เหมือนราษฏรทั่วไปเช่นกัน

                ขอบพระคุณท่านอย่างสูง และขอให้ท่านจงเป็นเสาหลักของประเทศไทยตลอดไปครับ



    คำตอบ

    1. การที่ ทภ.๓ ผิดสัญญากับกรมป่าไม้ ก็เป็นเรื่องระหว่าง ๒ หน่วยนั้นที่จะไปว่ากัน  แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดสิทธิแก่ใครที่จะไปเอาที่นั้นมาใช้เสียเอง ถ้ามันเป็นป่า มันก็ยังเป็นป่าอยู่ ถ้าที่นั้นเป็นที่ของรัฐด้วยเหตุอื่น ที่นั้นก็จะยังคงเป็นที่ของรัฐต่อไป

    2. ราษฎรคงไปฟ้องศาลปกครองในฐานที่เขาผิดสัญญาระหว่างหน่วยราชการไม่ได้หรอก   เหมือนคุณเป็นลูกหนี้ของนาย ก.  นาย ค. เห็นเข้ารำคาญ ก็จะไปฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ นาย ก.ชำระหนี้ของคุณก็ไม่ได้  โดยนาย ค.จะอ้างว่า หากคุณไม่ได้รับชำระหนี้แล้วเกิดจนลงจะมาเรียกคุณให้ชำระค่าเช่าบ้าน ย่อมไม่ได้

    3. ที่ดินของรัฐที่รัฐสงวนไว้นั้น หากหน่วยงานหนึ่งไม่จำเป็นจะใช้ ก็อาจอนุญาตให้อีกหน่วยงานหนึ่งใช้ได้ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ และทำเพื่อรัฐเหมือนกัน  เหมือนคุณมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ให้ลูกชายคนโตไปปลูกร้านขายของ ให้ไปตั้งนานแล้วก็ไม่ปลูกสักที วันหนึ่งลูกขายคนเล็กมาขอไปปลูก คุณก็อาจอนุญาตให้ลูกคนเล็กไปปลูกได้  เพื่อนบ้านเรือนเคียง จะมาบอกว่า ทีพวกผมไปขอปลูกทำไมไม่ให้ปลูก เห็นจะไม่ได้

           ถ้าประชาชนสามารถบุกรุกเข้าไปใช้ที่ดินของรัฐได้ หรือยกอายุความขึ้นต่อสู้กับรัฐได้ ป่านนี้ที่ดินของรัฐคงตกเป็นของเอกชนหมดแล้ว ไม่เหลือมาถึงคนยากคนจนหรอก คนรวย ๆ หรือคนมีอิทธิพลเขาคงเอาไปกันหมดแล้ว

           คำตอบนี้อาจไม่เป็นที่ถูกใจ แต่กฎหมายเป็นอย่างนั้น  


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤษภาคม 2561