ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052837 คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของอีกฝ่ายไหมคะคุณแนต3 พฤษภาคม 2561

    คำถาม
    คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของอีกฝ่ายไหมคะ
    เรียนถามอาจารย์ค่ะ
    กรณีอยู่กินแบบเปิดเผยเป็นสามีภรรยามากกว่า 15ปี พี่น้องทั้งสองฝ่ายรับทราบ เพื่อนบ้านเป็นพยานให้ได้ว่ามีความสัมพันธ์แบบใด แต่มีเพศเดียวกัน หากอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างที่อยู่ร่วมกัน คนที่มีชีวิตอยู่จะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินไหมคะ หากไม่ได้ทำพินัยกรรม
     กรณีที่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้อีกฝ่าย พี่น้องมีสิทธิ์ที่จะค้ดค้านหรือฟ้องร้องให้เป็นโฆคะไหมคะ
    ด้วยความนับถือค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
    คำตอบ
    ความสัมพันธ์ที่อยู่ด้วยกัน แม้ขณะนี้จะยังไม่มีกฎหมายให้มีสถานะเป็นสามีภรรยากัน แต่ถ้าคนสองคนอยู่ด้วยกันและทำมาหากินด้วยกันจนมีทรัพย์สินขึ้น ก็ต้องถือว่าคนสองคนนั้นเป็นหุ้นส่วนกัน ทรัพย์สินที่ได้มาก็ต้องถือว่าทั้งสองคนเป็นเจ้าของร่วมกัน  ถ้าอีกคนหนึ่งตายไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินนั้นก็ต้องจัดการแยกเพื่อให้แต่ละคนไปก่อน ของคนที่ตายก็ตกเป็นมรดกของพ่อแม่พี่น้องหรือทายาทอื่นของคนที่ตาย  แต่ถ้าได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินนั้นก็จะตกไปยังทายาทตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ จะเป็นญาติหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ทั้งนั้น ญาติพี่น้องจะมาฟ้องให้เป็นโมฆะไม่ได้ (ถ้าทำพินัยกรรมถูกต้อง)
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤษภาคม 2561