ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052916 ผู้จัดการมรดกป.ปลา23 มิถุนายน 2561

    คำถาม
    ผู้จัดการมรดก
    เรียน อ.มีชัย ครับ 
    ขออนุญาตถามคำถามดังนี้ครับ

    1. ผู้จัดการมรดกร่วม 2 คน คนหนึ่งเป็นทายาท (สามี) อีกคนหนึ่งเป็นน้องสาวเจ้ามรดก ตามความยินยอมของทายาท (บิดา) ผู้จัดการมรดก นำคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รับมรดกที่ดินสองแปลงในนามของสามี และสามีโอนต่อให้กับตนเองหนึ่งแปลง โอนอีกหนึ่งแปลงให้กับผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งโดยเสน่หาพร้อมกันในวันเดียว
        ทายาทมีสิทธิรับมรดกที่เหลืออีก 2 คนคือ บิดา และบุตรผู้เยาว์ อายุ 13 ปี ของเจ้ามรดกมิได้รับมรดกใดเลย และไม่ปรากฎหลักฐานประกอบการทำนิติกรรมมรดกที่ดินใดๆของทายาทที่เหลืออีก 2 คน และการทำนิติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดจัดการมรดกภายในเวลา 1 ปีแล้ว

    2. การโอนที่ดินแปลงแรก ผู้จัดการมรดก (สามี) ให้ถ้อยคำบันทึกว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมี 1 คน โดยตอนต้นของหนังสือระบุตารางทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกจำนวน 3 คนตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเขียนด้วยลายมือของเจ้าหน้าที่ที่ดิน
        การโอนที่ดินแปลงที่สอง ผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำบันทึกดังนี้
        2.1 บัญชีเครือญาติดังกล่าวข้างต้น ถูกต้องครบถ้วนตรงกับความเป็นจริงทุกประการ บรรดาเครือญาติอื่นที่มีสิทธิรับมรดกนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยตอนต้นของหนังสือระบุตารางทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกจำนวน 3 คนตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเขียนด้วยลายมือของเจ้าหน้าที่ที่ดิน
        2.2 การจัดการโอนมรดกนี้ ได้จัดการไปโดยความถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว
        2.3 ผู้รับให้ยืนยันว่าได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง ได้มีการตกปากลงคำสัญญากันมาอย่างแน่นอนแล้ว และไม่ผิดตัวเจ้าของที่ดิน โดยผู้รับให้ลงลายมือชื่อไว้เพียงคนเดียว ตำแหน่งลงลายมือชื่อพยานสองคน และตำแหน่งลงลายมือชือพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกปล่อยว่างไว้ทั้งสามตำแหน่ง

        อนึ่งทายาท (บิดา) ได้ติดตามทวงถามเรื่องการจัดการมรดกมาโดยตลอด แต่ผู้จัดการมรดกเพิกเฉยจนกระทั่งล่าสุด ผู้จัดการมรดกอ้างว่าบุตรผู้เยาว์ไม่ประสงค์จดทะเบียนลงชื่อรับมรดกด้วยวาจาแล้ว พร้อมแสดงหนังสือแบ่งปันมรดกยกที่ดินแปลงที่สองให้กับบิดา และยกที่ดินแปลงที่หนึ่งพร้อมทรัพย์มรดกที่เหลือทั้งหมดให้กับสามีและบุตร หนังสือดังกล่าวลงลายมือชื่อผู้จัดการมรดกทั้งสองคน และลงลายมือชื่อทายาท (บิดา) เป็นพยานเพียงหนึ่งคนทั้งที่เป็นคนต่างด้าวไม่รู้หนังสือไทยเลย ขอเรียนถามดังนี้ครับ
    ขอแสดงความนับถือ ป.ปลา

    1. การให้ถ้อยคำที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงในเอกสารดังกล่าวแล้ว ผู้จัดการมรดกและเจ้าหน้าที่มีความผิดฐานใด อย่างไร
    2. หนังสือแบ่งปันมรดกที่ถูกปกปิดมาตลอดนั้น คงมีผลในทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร
    3. อย่างไรก็ตาม การโอนแบ่งปันมรดกก็มิได้เป็นไปตามหนังสือฉบับดังกล่าว ผู้จัดการมรดกและเจ้าหน้าที่มีความผิดฐานใด อย่างไร
    คำตอบ
    ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ในการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ตาย (ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ถ้ามี) หรือตามสิทธิของทายาทโดยธรรม การจัดการโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท เป็นการไม่ชอบ ทายาทควรต้องรีบไปฟ้องต่อศาลเพ่ื่อเพิกถอนการโอนนั้นโดยเร็ว  สำหรับผู้เยาว์นั้น จะอ้างว่าเด็กยินยอมแล้วไม่ได้ เพราะเด็กยังไม่มีสิทธิทำนิติกรรมอย่างนั้นได้ แม้แต่ผู้ปกครองที่มีอำนาจยังปฏิเสธแทนเด็กไม่ได้ ต้องไปร้องต่อศาลให้ศาลพิจารณาความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของเด็กก่อน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มิถุนายน 2561