ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052917 เกี่ยวกับครอบครัวสุรชัย แซ่เฮง25 มิถุนายน 2561

    คำถาม
    เกี่ยวกับครอบครัว
    ผมและภรรยา (จดทะเบียนสมรส) ต่างทำงานบริษัทและต่างก็มีรายได้ประจำ  มีบุตรหนึ่งคนปัจจุบันอายุ 11 ปี ใคร่ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้

    1.  ผมเป็นฝ่ายรับภาระค่าใช้จ่ายหลักๆในครอบครัวเช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ส่วนภรรยาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่นค่าของใช้ในบ้านและค่าจ้างทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น ในสภาพเช่นนี้ ภรรยามีสิทธิเรียกร้องให้ผมจ่ายเงินให้เขาเป็นประจำรายงวด เพิ่มจากส่วนที่ผมรับเป้นภาระในครอบครัวอยู่แล้ว ได้หรือไม่
    2. ผมซื้อบ้านและที่ดินตั้งแต่ก่อนแต่งงาน ผมเป็นผู้ชำระค่างวดมาโดยตลอด แต่รับโอนกรรมสิทธิภายหลังจากการจดทะเบียนสมรส มีวิธีจดแจ้งให้บ้านดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนตนได้อย่างไรหรือไม่ เนื่องจากภรรยามิได้มีส่วนช่วยผ่อนชำระแต่อย่างใด
    3. หุ้นที่ซื้อและเก็บไว้ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรส รวมทั้งส่วนต่างราคาหุ้นและเงินปันผล ถือเป็นสินสมรสหรือไม่ครับ

    ขอบพระคุณอาจารย์ครับ



    คำตอบ

    1. ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสนั้น หมายความว่าทั้งสองคนมีสิทธิตัดสินร่วมกัน จะตกลงกันอย่างไร ก็ได้

    2. ส่วนที่คุณส่งมาก่อนสมรส ก็เป็นสินส่วนตัวของคุณ แต่ส่วนที่คุณส่งภายหลังสมรส ก็เป็นสินสมรส ซึ่งทั้งสองคนมีสิทธิร่วมกัน

    3. ดอกผลของหุ้น (ที่เป็นสินส่วนตัว) และราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นในระหว่างสมรส เป็นสินสมรส


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มิถุนายน 2561