ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052951 ทางเดินสาธารณประโยชน์นนนี่11 สิงหาคม 2561

    คำถาม
    ทางเดินสาธารณประโยชน์
    ในอดีตสมัยรุ่น คุณพ่อ-คุณแม่ มีทางสาธารณประโยชน์ ที่ใช้เดินเข้า-ออก สามารถพาวัว ควาย รถจักร ไปยังที่นาได้ และในระวางก็ระบุชัดเจนว่ามี  แต่ปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ได้หายไป

     

    เนื่องจาก พื้นที่ข้างเคียงทางสาธารณประโยชน์ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ได้ทำการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างเกือบติดกัน ทำให้ไม่สามารถเดินเข้า-ออกได้ ทำให้ที่นาซึ่งอยู่ด้านในกลายเป็นที่ตาบอด และไม่แน่ใจว่าฝั่งไหนเป็นผู้บุกรุก ผู้เดือดร้อนก็เลยไปขอให้ทางผู้ใหญ่บ้าน และผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นคนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบดีว่าในอดีตเคยมีทางสาธารณประโยชน์ไปช่วยเจรจา แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ไม่ยินยอม โดยฝั่งซ้ายก็บอกว่าฝั่งขวารุกล้ำ ส่วนทางฝั่งขวาก็บอกว่าฝั่งซ้ายรุกล้ำ

     

    ดังนั้น ทางผู้เดือนร้อนก็เลยไปร้องทุกข์ต่อนายอำเภอ ทางอำเภอก็ได้ดำเนินการประสานงาน โดยให้ ปลัด  เทศบาล และผู้ใหญ่บ้าน ไปดูพื้นที่จริง ก็พบว่าหมุดของพื้นที่ข้างเคียงทางสาธารณประโยชน์ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาอยู่เกือบติดกัน และในวันนั้นทางเจ้าของที่ดินข้างเคียงแปลงฝั่งขวาได้พูดว่าเขาได้ทำการขอรังวัดและออกโฉนดที่ดินใหม่ โดยรวมพื้นที่ดังกล่าวเป็นของเขาไปแล้วเมื่อปี 2544 และเขาก็ยึดตามโฉนดใหม่  ทางผู้เดือดร้อนก็เลยขอให้ทางเทศบาลทำหนังสือเพื่อขอสอบเขตทางสาธารณประโยชน์ต่อกรมที่ดิน  ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอสอบเขตเรียบร้อยแล้ว

     

    เบื้องต้น หัวหน้าฝ่ายรังวัดที่ดิน ก็ได้ให้เจ้าหน้าที่พนักงานไปส่องดูพื้นที่จากดาวเทียมก็ทราบว่าพื้นที่ของทางสาธารณประโยชน์เหลืออยู่ 59 เซนติเมตร  (ขณะนี้ยังไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อทำการสอบเขต) และทางหัวหน้าฝ่ายรังวัดที่ดินได้เชิญช่างของเทศบาลมาเจรจา ซึ่งทางเทศบาลแจ้งว่า  ไม่ว่าจะทำการสอบเขตหรือไม่ก็ตาม ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเหลือแค่ 59 เซนติเมตร เพราะจะต้องยึดตามโฉนดปัจจุบัน  ทางผู้เดือดร้อนก็เลยสอบถามกับหัวหน้าฝ่ายรังวัดที่ดินว่า  การขอรังวัดที่ดินหากที่ดินแปลงที่จะขอรังวัดนั้นอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ สำนักงานที่ดินต้องส่งหนังสือแจ้งหน่วยงานใดหรือไม่ เพื่อเป็นตัวแทนในส่วนของที่สาธารณประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ

     

    จากเหตุการณ์ข้างต้นขอรบกวนสอบถามท่านอาจารย์ดังต่อไปนี้ค่ะ

    1.การขอรังวัดที่ดิน หากแปลงที่ต้องการรังวัดมีพื้นที่ข้างเคียงเป็นทางสาธารณประโยชน์ สำนักงานที่ดินจะต้องส่งหนังสือแจ้งเทศบาลหรือหน่วยงานใดหรื่อไม่

    2.ในกรณีนี้ เมื่อเจ้าของที่ดินแปลงฝั่งขวาทางสาธารณประโยชน์ได้ทำการขอรังวัดและออกโฉนดใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเอาที่ดินส่วนที่เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปรวมอยู่ในโฉนดของตนเองถือว่าผิดหรือไม่

    3.จากข้อ 2.หากว่าผิด  เจ้าหน้าที่รังวัด และ เทศบาล หรือหน่วยงานอื่นใด มีส่วนผิดด้วยหรือไม่

    4.การสอบเขตทางสาธารณประโยชน์ ยึดถือระวางในอดีตได้หรือไม่ หรือยึดโฉนดฉบับออกใหม่ที่เป็นปัจจุบันเป็นหลัก (เพราะดูจากระวางในอดีตทางสาธารณประโยชน์ก็กว้างพอสมควร)

    5.มีวิธีไหนบ้างหรือไม่ที่ผู้เดือดร้อนสามารถดำเนินการเพื่อให้ได้ทางสาธารณประโยชน์กลับคืนมา

     

    กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

    นนนี่

























    คำตอบ

    1. ต้องแจ้งสิ

    2. ถ้ามีหลักฐานว่าเป็นที่ดินสาธารณะ ถึงจะออกโฉนดใหม่อย่างไร โฉนดนั้นก็ใช้ไม่ได้หากไปทับที่สาธารณะ  ควรร้องไปยังศูนย์ดำรงธรรม

    3. ผิด ทั้งผู้ที่ออกโฉนด และผู้ที่ไม่ไประวังรักษาเขต

    4 ต้องยึดระวางในอดีต

    5. รวมตัวกันแล้วร้องไปยังศูนย์ดำรงธรรม หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 สิงหาคม 2561