ขอสอบถามอาจารย์มีชัย เพิ่มเติมจากที่อาจารย์ ได้ตอบในวันที่ 11 ส.ค. 61 ถามถึงขอบเขตอำนาจของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดทางวินัย ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 สรุปว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่แล้วเป็นอันยุติ องค์กรอื่นที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานความผิดเป็นอย่างอื่นได้ประกอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเสร็จที่ 158/2551 ความผิดทางวินัยไม่ได้หมายความเฉพาะความผิดฐานทุจริตเท่านั้น ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2482 ให้กระทรวง ทบวง กรมถือปฏิบัติ ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 ก.พ. 2547 ให้ถือปฏิบัติตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 โดยเคร่งครัดนั้นต่อมา ในภายหลัง ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา คดีแดงที่ อ. 1037/2558 ไม่สอดคล้องกับคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ถือปฏิบัติ และในปี 2560 ศาลปกครองสูงสุด คดีแดงที่ 25/2560 เพิกถอนตำสั่งปลดออกรองผู้ว่าฯกำแพงเพชร ทั้งนี้ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่มีคำสั่งบังคับและให้กลับสู่ตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม และคำพิพากษาของศาลปกครองจะมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี แต่ผลของคำพิพากษาของศาลปกครอง ก็ควรที่จะถือเป็นบรรทัดฐานในทางปฏิบัติราชการได้ในกรณีอื่นๆ
ถ้าเป็นเช่นนี้ทุกคดีที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงให้ออกจากราชการและเกิดความเสียหายกับคู่กรณีที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงจะได้สิทธิ์คืนใช้เวลาอีกหลายปีกว่าศาลปกครองจะพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้เกิดความเสียหายต่อตัวคู่กรณีเป็นสูงที่จะกลับคืนได้
คำถาม
ข้อที่ 1 ภายหลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว คู่กรณีมีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายแพ่งได้มากน้อยเพียงใด กับใครได้บ้าง ผู้ออกคำสั่ง คณะกรรมการผู้พิจารณายกอุทธรณ์ หรือ ป.ป.ช. โดยตรง
ข้อที่ 2 สามารถดำเนินคดีอาญาทั้ง 3 ได้ไหม อย่างไร และข้อหาความผิดอะไรได้บ้าง
1 ทางออกสุดท้ายของคนที่ถูกลงโทษจาก ปปช คือไปฟ้องศาลปกครอง การที่ศาลปกครองพิพากษาว่าคนนั้นผิดหรือไม่ผิด ไม่ได้ขัดต่อความเห็นกฤษฎีกา ๆ บอกแต่เพียงว่าเมื่อ ปปช.วินิจฉัยว่าอย่างไร ผู้บังคับบัญชาก็ต้องดำเนินการตามนั้น ส่วนการที่ผู้ถูกลงโทษไปฟ้องศาลปกครอง ก็เป็นสิทธิของคนนั้น ส่วนความเสียหายนั้นขึ้นอยู่กับว่าศาลปกครองมีคำสั่งว่าอย่างไร บางกรณีศาลก็สั่งให้บรรจุกลับตั้งแต่วันที่สั่งลงโทษถึงออกจากงาน
2. ถ้ามีหลักฐานและข้อเท็จจริงแสดงได้ว่า ปปช.ชี้มูลโดยไม่สุจริต ก็ฟ้องได้