ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052992 ปัญหากฎหมายนายปวัตน์ ตันจันทร์14 ตุลาคม 2561

    คำถาม
    ปัญหากฎหมาย

       ขออนุญาตสอบถามท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เพิ่มเติม ในปัญหาข้อกฎหมาย ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยแล้ว ตามคำสั่งที่ 51/2561 วันที่ 21 สิงหาคม 2561 ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ยื่นคำร้อง เกี่ยวกับการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีแดงที่ อ.1037/2558 และแดงที่ ฟ.25/2560 ที่พิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย ที่ให้ ป.ป.ช.มีอำนาจในการไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัยได้เฉพาะความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการเท่านั้น ทำให้การไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัยในฐานความผิดอื่นเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายนั้น และศาลรัฐธรรมนูญ ได้จำหน่ายคดี โดยวินิจฉัย ว่าได้มีประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 บังคับใช้แล้ว โดยมาตรา 91 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนแล้วมีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือความผิด ฯ (2) ถ้ามีมูลความผิดวินัยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ส่งรายงานสำนวนการไต่สวนเอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชาภายใน 30 วันเพื่อดำเนินการทางวินัยต่อไป และ มาตรา 101วรรคหนึ่ง “ผู้ถูกลงโทษตามมาตรา 98 มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันถูกลงโทษโดยไม่ต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย หรือจะอุทธรณ์ดุลพินิจก่อนก็ได้”  และวรรคสอง “ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยนำคดีฟ้องศาลปกครองโดยมิได้ฟ้องคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ศาลปกครองแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่กรณีได้” จากบทบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงชัดเจนในประเด็นที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ร้องขอให้พิจารณาหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยต่อไป และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ต่อไป

                    ประเด็นคำถาม

                    ข้อที่ 1 คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 51/2561 เป็นการวินิจฉัยยกเลิกหักล้าง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2546 ไปเลยหรือไม่อย่างไร

                    ข้อที่ 2  ถ้าหาก คณะกรรการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยในฐานความผิดอื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจถอดถอน สามารถแต่งตั้งกรรมการสอบวินัยใหม่ก่อนการลงโทษวินัยได้หรือไม่อย่างไร

                    ข้อที่ 3  ถ้าหาก  คณะกรรการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยในฐานความผิดอื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ คณะกรรมการรับอุทธรณ์ จะใช้ดุลพินิจต่างไปจากฐานความผิดที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไว้ โดยอาศัยแนวทางคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ผ่านมา ใช้เป็นบรรทัดฐานในการใช้ดุลพินิจต่อไป ได้หรือไม่อย่างไร

                                                                    ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูง

    คำตอบ

    1. ไม่รู้ว่าคำวินิจฉัยที่ ๒/๒๕๔๖ เป็นเรื่องอะไร เลยตอบไม่ได้

    2. ถ้าข้าราชการทำผิด ไม่ว่า ปปช.จะชี้มูลหรือไม่ ผู้บังคับบัญชาก็มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยทุกเรื่อง ไม่จำเป็นต้องรอให้ ปปช. ชี้มูล

    3. ขึ้นอยู่กับว่า ปปช.ชี้มูลโดยมีอำนาจหรือไม่ ถ้าไม่มีอำนาจ ผู้บังคับบัญชาก็ต้องดำเนินการทางวินัยไปตามพยานหลักฐาน จะเป็นความผิดฐานอะไรก็สุดแต่เรื่องที่กระทำจะนำไปสู่ฐานอะไร แต่ถ้า ปปช.มีอำนาจ ก็ต้องดำเนินการตามคำชี้มูลของ ปปช.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 ตุลาคม 2561