ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052809 อยากทราบเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560policemajor@hotmail.com4 เมษายน 2561

    คำถาม
    อยากทราบเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560
    วันที่ 4 เมษายน 2561
    เรียน อาจารย์มีชัยฯ ที่เคารพ

       ผมได้รับความกรุณาจากอาจารย์ในหลายๆเรื่องและหลายๆครั้งที่เกี่ยวกับ  ความรู้  ความเข้าใจ  ในข้อกฎหมาย

       ด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่ง กรธ.จำนวนทั้งหมด 21 ท่านเป็นผู้ร่วมกันร่างมากับมือและมีตัวอาจารย์เองที่เป็นประธาน กรธ.  ผมขออนุญาตเรียนถามดังนี้ครับ

       1.คำว่า"เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ"คืออะไร  ความหมายความเข้าใจ  หากในภายภาคหน้า  คนรุ่นหลังจะเข้าใจเข้าถึงต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่จริง ที่ถูกต้อง ที่ครบถ้วน ที่ตรวจสอบพิสูจน์ได้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันได้อย่างไรครับ  จึงจะรู้ว่า"นั่นคือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ"  ไม่ถูกบิดเบี้ยว ไม่ถูกแปลความ ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปจากเดิม 

       2.ระหว่าง กรธ. ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ  กับ  สนช.  ในความเห็นส่วนตัวของอาจารย์  อาจารย์คิดว่า"ใคร"ควรจะเข้าใจเข้าถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ถูกต้องและเป็นจริงมากกว่ากันครับ

       3.รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 267 บัญญัติให้ กรธ.ต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  หมายความว่า สนช.ก็ต้องพิจารณาและต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน  หรือไม่ครับ

       4.รัฐธรรมนูญ 2560  ได้บัญญัติถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ  โดยมีมาตราที่บัญญัติมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับองค์กรอิสระอื่นๆ คือ...มาตรา 246  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ...(วรรค 4)   คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ...ความสำคัญและชัดเจนที่บัญญัติถึง  คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การพ้นจากตำแหน่ง  ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ...เรียนถามว่า  มีเจตนารมณ์และความมุ่งหมายคืออะไร  ทำไม กรธ.ถึงบัญญัติไว้ชัดเจนที่มีข้อความแตกต่างกับองค์กรอิสระอื่นๆในรัฐธรรมนูญ 2560 ในองค์กรอิสระอื่นๆไม่ได้บัญญัติไว้ด้วยเลยโดยเฉพาะคำบัญญัติที่ว่า  " คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม" 

       5.เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติใน มาตรา ๒๗๓  ที่บัญญัติว่า...และเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องที่จัดทำขึ้นตามมาตรา ๒๖๗ ใช้บังคับแล้ว การดำรงตำแหน่งต่อไปเพียงใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว...อาจารย์ในฐานะประธาน กรธ.ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์และความเข้าใจคืออะไรครับ


             ด้วยความเคารพ
     policemajor@hotmail.com
    คำตอบ

    1. เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็คือ ความมุ่งหมายหรอความหมายของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  ตามที่เห็นได้จากตัวบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเอง

    2. ถ้ายึดถือหลักการตีความตรงไปตรงมา ก็ย่อมอยู่ในฐานะเดียวกัน เพราะต่างก็ต้องยึดถือความที่ปรากฏในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สำหรับคนร่างอาจจะรู้ว่าตนต้องการอย่างไรในการเขียน แต่ถ้าเขียนแล้วไม่ตรงตามที่ต้องการ ก็อาจถูกตีความไปเป็นอย่างอื่นได้

    3. ใช่

    4. เพราะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ยึดโยงกับอยู่กับปฏิญญาสากลที่ประเทศไทยยอมรับนับถือ  นอกจากคุณสมบัติอันมีลักษณะทั่ว ๆ ไปแล้ว จึงต้องเปิดให้ไปบัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะในกฎหมายลูก เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาดังกล่าว อันได้แก่ หลักการปารีส และเหตุที่ไม่เขียนหลักการนั้นใน รธน.ของไทย ก็เพราะไม่รู้ว่าหลักการนั้นวันข้างหน้าจะมีเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอีกหรือไม่ หากมีจะได้ไม่ต้องมาแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทย

    ๕. ตอนที่เขียน ก็มุ่งหมายว่า จะให้อยู่หรือไม่เพียงใด ให้เป็นไปตามกฎหมายลูก โดยยังต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ในเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญเดิมยกเลิกแล้ว และบัญญัติรัฐธรรมนูญใหม่ องค์กรที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญเดิม ปกติจะต้องหมดสิ้นไปทันที เว้นแต่จะเขียนรองรับไว้ให้อยู่  ในการเสนอร่างกฎหมายลูก จึงได้เสนอว่าถ้ามีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ รธน.กำหนด ก็อยู่ต่อไปได้ตามระยะเวลาที่เคยมี  แต่มาบัดนี้ ศาล รธน. ท่านว่า กฎหมายลูกจะยกเว้นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องเขียนไว้ให้ชัดแจ้ง ก็ต้องถือว่าเป็นที่สุด


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 เมษายน 2561