ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    022446 พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติttksai4 กรกฎาคม 2550

    คำถาม
    พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

    กรณีนางสดศรี สัตยธรรม กกต. ออกมาโวยว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เดิม กกต.ได้ร่วม.ส.ส.ร. เพื่อพิจารณาออกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยได้กำหนดโทษที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่เมื่อส่งไปให้กฤษฎีกา ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน กลับแก้ไขเรื่องบทลงโทษ พร้อมทั้งเพิ่มข้อความว่า ห้ามให้ทำโพลเพื่อสำรวจความคิดเห็น ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้เกิดปัญหา อาจทำให้ ส.ส.ร. ทำงานไม่ได้ และอาจทำให้คนมาลงประชามติน้อย  ไม่ทราบว่า ความจริงเป็นอย่างไรค่ะ เห็นกกต.บอกกฤษฎีกาสอดไส้

    คำตอบ

    คุณสดศรีท่านอาจจำไม่ได้ว่า ร่างที่ กกต.ร่างไปนั้นเป็นอย่างไร จึงคิดว่ากฤษฎีกาไปเพิ่มโทษ  อันที่จริงระดับโทษที่ปรากฏในร่างที่ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกานั้นเป็นระดับโทษที่กำหนดไปจาก กกต.ทั้งสิ้น  ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวกับโพลนั้น กฤษฎีกาเติมจริง แต่ไม่ใช่ห้ามทำโพล แต่ห้ามเปิดเผยผลของโพลในระหว่างเวลาที่กำหนดเพื่อไมให้อาศัยโพลมาโน้มน้าวใจคนที่จะไปลงคะแนน ซึ่งเมื่อส่งร่างดังกล่าวให้ กกต.ดู  กกต.ก็ได้แก้ไขเล็กน้อยเป็นว่าห้ามเปิดเผยผลของโพลก่อนวันลงคะแนนเสียง ๗ วัน ซึ่งแปลว่า กกต.ก็รู้ถึงบทบัญญัติดังกล่าวจึงได้แก้ไขถูกต้อง  ในการพิจารณาร่างกฎหมายใด ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ นั้น กฤษฎีกาจะเชิญผู้แทนของหน่วยงานนั้นมาร่วมพิจารณาด้วยตั้งแต่ต้นจนจบ ก่อนจะแก้ไขอะไรก็จะต้องถามความต้องการของเขาเสียก่อนเสมอ

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 กรกฎาคม 2550