ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039952 ร่าง พ.ร.บ.k23 เมษายน 2553

    คำถาม
    ร่าง พ.ร.บ.

    กราบเรียน ท่านอาจารย์มีชัย

    กระผมมีปัญหาอยากเรียนถามท่านอาจารย์ ดังนี้

    ๑.กระผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านสภาผู้แทนฯ วาระ ๑ แล้ว รัฐบาลเกิดยุบสภาฯ ถือว่าร่าง พ.ร.บ. นั้นยังไม่ตกไปทีเดียวตามรัฐธรรมนูญฯ ม.๑๕๓ ว.๑ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะหยิบยกขึ้นมาให้สภาฯ พิจารณาอีกหรือไม่ ใช่หรือไม่ครับ

    ๒.กระผมเข้าใจว่าก่อนหน่วยงานของรัฐนำร่าง พ.ร.บ.เข้า ครม.ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องฯ ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการเสนอเรื่องฯ และระเบียบฯ แต่กระผมไม่เข้าใจว่า ภายหลังจากที่ ครม.อนุมัติหลักการ และส่งผ่านกฤษฎีกาตรวจแล้วเสร็จ ก่อนนำเข้าสภาทำไมต้องนำร่าง พ.ร.บ.นั้นเข้าสู่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนฯ ด้วย อาศัยอำนาจตามกฎหมายใด และคณะกรรมการประสานงานฯ มีอำนาจพิจารณาเนื้อหาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาที่ผ่านการตรวจของกฤษฎีกาและ ครม.เห็นชอบในหลักการมาแล้วได้หรือไม่

    กระผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มีชัยเป็นอย่างสูง ที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าพิจารณาตอบคำถามประเด็นต่างๆ ในเว็บนี้

    K.

    ๒๓ เม.ย.๒๕๕๓  

    คำตอบ

    1.  ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป  เพียงแต่มีเงื่อนไขว่ารัฐบาลใหม่ที่มาหลังจากการเลือกตั้ง มีสิทธิที่จะขอให้สภาหยิบยกขึ้นมาพิจารณาต่อไปได้

    2. คณะกรรมการประสานงานของรัฐบาล เป็นกลไกที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อกลั่นกรองเรื่องก่อนจะนำเสนอต่อสภา เพื่อให้ผู้แทนพรรคต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นรัฐบาลได้พิจารณาดูเสียให้ดีก่อนว่าแต่ละพรรคจะรับกฎหมายนั้นหรือไม่ อำนาจตามกฎหมายนั้นไม่มี มีแต่อำนาจในทางปฏิบัติ เพราะถ้าคณะกรรมการประสานงานเห็นว่าร่างกฎหมายนั้นจะมีปัญหาในสภา ก็อาจบอกต่อรัฐบาลว่าไม่ควรเสนอสภาได้ เพราะถ้าเสนอไปก็อาจเกิดปัญหาในการรับหลักการได้  ในทางปฏิบัติคณะกรรมการประสานงานอาจเห็นว่าร่างกฎหมายหนึ่ง ๆ พอผ่านได้ ถ้าได้แก้ไขบางเรื่องบางราวเสียก่อน ในกรณีนั้น คณะรัฐมนตรีก็อาจตามใจยอมให้แก้ไขเสียก่อนได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 เมษายน 2553