ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045884 การขอเปิดอภิปรายตามรัฐธรรมนูญ ม.161อารียา22 พฤศจิกายน 2554

    คำถาม
    การขอเปิดอภิปรายตามรัฐธรรมนูญ ม.161

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ม. 161 ค่ะ

           มาตรา 161  กำหนดให้  ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อ   ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ  และการขอเปิดอภิปรายนี้จะทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง

    หมายเหตุ  : ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ข้อ 174  กำหนดให้     การขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ ให้ทำเป็นหนังสือ   ยื่นต่อประธานวุฒิสภา โดยระบุให้ชัดเจนว่าจะให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องใด  และให้ประธานวุฒิสภาแจ้งการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่งไปยังนายกรัฐมนตรี และให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

          ประเด็นที่ต้องการรบกวนสอบถามท่านอาจารย์ฯ มีดังนี้ นะคะ

    1. การขอเปิดอภิปรายที่จะทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา  161 นี้ จะหมายถึงเพียงว่า การยื่นคำขอเปิดอภิปรายฯ ต่อประธานวุฒิสภาทำได้ครั้งเดียว  หรือหมายถึงว่า จะต้องมีการเปิดอภิปรายจริงๆ            ในที่ประชุมวุฒิสภา เพียงครั้งเดียว คะ

    2. ในคำขอเปิดอภิปรายฯ ฉบับหนึ่ง จะระบุปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ชัดเจนหลายเรื่องได้หรือไม่คะ

    3. หากมี ส.ว. กลุ่มหนึ่งได้ยื่นขอเปิดอภิปรายตาม ม. 161 ให้รัฐบาลมาชี้แจงปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งต่อประธานวุฒิสภาไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการนำเรื่องบรรจุเข้าวาระการประชุม  ส.ว. อีกกลุ่มหนึ่ง จะยื่นคำขอเปิดอภิปรายตาม ม. 161 อีก    แต่เป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินคนละปัญหา กับ ส.ว.   กลุ่มแรก โดยให้รัฐบาลมาตอบชี้แจงรวมในการประชุมครั้งเดียวกัน จะทำได้  หรือไม่คะ

       และถ้าทำได้ อยากทราบว่า  ส.ว. 1 คน จะลงชื่อเป็นผู้ขอเปิดอภิปรายฯ      ซ้ำกันทั้งในคำขอแรกและในคำขอหลัง ได้หรือไม่คะ 

     

                                                    ขอบพระคุณมากค่ะ

                                                            อารียา

     

     

     

    คำตอบ

    1. เมื่อเป็นเรื่องการจำกัดสิทธิก็ต้องแปลโดยเคร่งครัด เมื่อรัฐธรรมการกำหนดว่า จะขอเปิดได้เพียงครั้งเดียว ก็ต้องหมายถึงการ "ขอเปิด" ส่วนการอภิปรายจะมีจริง ๆ เมื่อไรก็สุดแต่ประธานจะจัดให้มีการประชุมเมื่อไร

    2. ก็ไม่ได้มีอะไรห้าม

    3. เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้ "ขอเปิด" ได้เพียงครั้งเดียว ใครจะขอไม่สำคัญ  เมื่อมีคนขอไปแล้ว คนอื่น ๆ ก็ต้องรอไปสมัยประชุมต่อไปที่ไม่ใช่สมัยประชุมนิติบัญญัติ  มิฉะนั้นก็จะสามารถเปิดได้อย่างน้อย ๆ ๓ ครั้งในสมัยประชุมหนึ่ง ๆ เพราะใช้สมาชิกเพียง ๑ ใน ๓ เท่านั้น และถ้ายิ่งให้ลงชื่อซ้ำกันได้ ก็สามารถเปิดได้ทุกวัน มาตรา ๑๖๑ วรรคสองก็เลยไม่มีความหมาย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 พฤศจิกายน 2554