ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014079 สิทธิ์ในภาระจำยอมเรื่องทางเข้า/ออกDeE dEe25 พฤษภาคม 2548

    คำถาม
    สิทธิ์ในภาระจำยอมเรื่องทางเข้า/ออก

    เรียน อ.มีชัย

    หมู่บ้านที่อยู่ใช้ทางเข้า/ออกร่วมกันคอนโด (ถนนเมนตัดกลาง ด้านซ้ายเป็นหมู่บ้าน ด้านขวาเป็นคอนโด) แต่ว่ากรรมสิทธิ์ในถนนเป็นของเจ้าของคอนโด จดภาระจำยอมให้กับหมู่บ้าน โดยเจ้าของหมู่บ้านเป็นผู้จ่ายเงินค่าทำถนน ท่อระบายน้ำ

    1. คอนโดไม่ทำอาคารจอดรถ รถของคอนโดจึงจอดบนถนน ทั้งซ้าย/ขวา และเกาะกลาง และห้ามไม่ให้รถของหมู่บ้านฯ ไปจอดบนถนนเมน

    2. ผู้อยู่อาศัยทั้ง 2 ฝ่าย ทำการค้าขายล้ำออกมาบนถนน แต่ของทางหมู่บ้านยืนล้ำไปไม่ได้บอกว่ากรรมสิทธิ์เป็นของเขา

    3. มีการทำสติกเกอร์ติดรถยนต์เพื่อผ่านเข้า/ออก ต้องทำตามกฎระเบียบที่ทางคอนโดกำหนด มีการเก็บเงินค่าจอดรถ หากไม่มีสติกเกอร์ หรือบัตรจอดรถประทับตรายางของคอนโด (ให้หมู่บ้านมีได้แค่ 2 อัน/98 หลัง) ....สามารถใช้ตรายางประทับของหมู่บ้านเองได้หรือไม่..เคยเจรจาแล้วทางคอนโดไม่ยินยอม

    ตัวแทนของหมู่บ้านฯ บอกว่า ในการจดภาระจำยอม เป็นการจดเพื่อใช้สัญจร ไม่ใช่ทำเป็นจอดรถหากทางคอนโด นำรถมาจอดได้ ทางหมู่บ้านก็จอดได้ รวมไปถึงการค้าขายด้วย เพราะถือว่าผิดวัตถุประสงค์

    สิ่งที่ตัวแทนหมู่บ้านบอกมา เป็นความเข้าใจถูกต้องตามหลักกฏหมายหรือไม่?

    คำตอบ

    เรียน DeE

        เจ้าของที่ดินเขาจะใช้ที่ดินของเขาอย่างไรก็ย่อมทำได้ ซึ่งผิดกับกรณีผู้ได้รับประโยชน์จากภาระจำยอม ที่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ว่าเจ้าของที่ดินทำอะไรแล้วคนที่ได้รับประโยชน์จากภาระจำยอมจะต้องทำได้เหมือนกัน   อย่างไรก็ตามเจ้าของที่ดินก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนจนก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือขัดขวางการใช้ที่ดินที่เป็นภาระจำยอมตามวัตถุประสงค์ที่ตกลงกันไว้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 พฤษภาคม 2548