ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015771 หนังสือมอบอำนาจ กับคดีอาญาสงสัยอย่างมาก6 มกราคม 2549

    คำถาม
    หนังสือมอบอำนาจ กับคดีอาญา

        กรณีที่พนักงานผู้รับมอบอำนาจกระทำการใด ๆ แทนกรรมการ แล้วเกิดผลกระทบมีความผิดตาม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน.. ๒๕๓๕ ไม่ทราบว่าหากพ้นตำแหน่งการเป็นพนักงานบริษัทแล้ว บริษัทสามารถบอกปัดไม่รับผิดชอบได้หรือไม่ และคดีอาญาตามมาตรา 58 ,60 , 61 มีอายุความกี่ปี  ควรกระทำสัญญาร่วมกับบริษัทและพนักงานหรือไม่ว่าหากความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาไม่ว่าจะยังคงเป็นพนักงานแล้วหรือไม่ก็ตาม บริษัทต้องรับผิดชอบในคดีดังกล่าว ทั้งนี้บริษัทมีเงินประกันไว้กับกองทุน

                       มาตรา ๕๘  ผู้ใดไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสิบล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๖๐  ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ หรือผู้จัดการของนิติบุคคลนั้น หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น

    มาตรา ๖๑  บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมายสามคนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ได้เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    คำตอบ
         ถ้าเป็นแต่เพียงพนักงาน ก็ไมต้องรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว จะไปกังวลทำไม ถึงบริษัทจะมอบอำนาจให้กระทำแทน ก็เป็นการกระทำแทนในนามของบริษัท
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 มกราคม 2549