ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045076 ฟ้องหย่าบุญมา23 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    ฟ้องหย่า

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

              เมื่อ ปี 2548  ภรรยาของผมเป็นฝ่ายทิ้งผม โดยหลบหนีออกจากบ้านที่เคยอยู่กินด้วยกัน นำบุตรไปด้วย 1 คน และบอกว่า ขอหย่า กับ ผม   แต่ผมไม่หย่า  ผมออกตามหา ไม่นิ่งเฉย จนไปพบก็คุยกันไม่เข้าใจ ภรรยาผมย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ  เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปเรื่อยๆ  ขณะนี้ผมก็ตามหา ลูกผมมาตลอด เมื่อ 2 เดือนก่อน ภรรยาผมโทรมาบอกว่าจะฟ้องหย่า ดำเนินการที่สำนักงานกฎหมายแล้ว

                                    ผมอยากเรียนถามอาจารย์ว่า

    1.ภรรยาผมสามารถฟ้องหย่า โดยใช้   ปพพ  เหตุฟ้องหย่า มาตรา 1516 (4/2)  ได้หรือไม่ (ผมทราบมาว่าเขาใช้ มาตรานี้

    2.ที่ผมไม่หย่ามีเหตุผลเดียวคือถ้าผมจะไปนำลูกมา ถ้าผมหย่า ผมก็ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผมกลัวว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  เช่นลักพาตัว   ผมคิดถูกหรือเปล่าครับ

    3.จะหย่าก็ได้แต่ผมอยากได้ลูกคืน ให้ภรรยาผมไปคนเดียว  ผมจะใช้เหตุผลใดมาต่อสู้ครับ

                                 ขอกราบขอบพระคุณ

    คำตอบ

    1. ถ้าเป็นการแยกกันอยู่โดยสมัครใจ ก็ใช้เป็นเหตุฟ้องหย่าได้

    2. ไม่ว่าจะหย่าหรือไม่หย่า คุณก็ยังเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่เสมอ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะแต่อย่างใด

    3. ก็ต้องเจรจาตกลงกัน หรือมิฉะนั้นก็ต้องสู้คดีกันในศาล


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มิถุนายน 2554