ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050316 ต้องการหย่าทำอย่างไรดีPN11 กันยายน 2557

    คำถาม
    ต้องการหย่าทำอย่างไรดี

     

    สวัสดีค่ะ อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

    ดิฉันมีเรื่องขอรบกวนอาจารย์ผู้ที่เป็นที่พึ่งแก่ผู้ไม่รู้ด้านกฏหมายด้วยค่ะ  เรื่องมีดังนี้ค่ะ

    นาง ป. กับ นาย ว. แต่งงานจดทะเบียนสมรถ ถูกต้องตามกฏหมายเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา

    นาง ป. มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท เอกชน แห่งหนึ่ง มีรายได้และสวัสดิการค่อนข้างดีมาก
    ส่วน นาย ว. สามี  ก็เช่นกันเป็นพนง.บริษัทเอกชน รายได้ก็ถือว่าพอใช้ได้  แต่สวัสดิการไม่ดี
    และฐานะก่อนที่จะมาแต่งงานกับนาง ป. ค่อนข้างแย่   ส่วนทางครอบครัวดิฉัน นาง ป. ก็ถือว่า
    มีฐานะปานกลาง    ดิฉันจะท้าวความในอดีตของนายว. เพื่อเป็นข้อมูลด้วยค่ะ    ตอนที่เขาแต่งงานกัน
    ทางพ่อแม่ดิฉันก็ไม่ได้ขัด เพราะถือว่าโต ๆ กันแล้ว  (แต่พ่อดิฉันไม่ชอบลูกเขยคนนี้)
    พฤติกรรมนาย ว. คือ นาง ป.ทำงานคนเดียว เขาอยู่บ้านเฉยๆ คือตกงานอยู่ 2 ปี  ดิฉันเองสงสารน้อง
    จึงหางานให้ นาย ว. ทำ (ซึ่งก็ทำอยู่ปัจจุบัน  จนมีตำแหน่งเป็น ผจก.)    และในส่วนตัวทางครอบครัว
    ของนาย ว.  เขามีพี่น้อง 5 คน และมีที่ดินที่ไม่ได้แบ่งกันอยู่แปลงเดียวไม่ถึงไร่  แต่ทำเลดี
    นาง ป. ทำงานรายได้ดี  ก็ทำทุกอย่าง ซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์  ซื้อรถ  ซื้อประกันชีวิต
    คชจ.ในบ้านเป็นของ นาง ป.คนเดียว รวมถึงค่าเล่าเรียนลูกด้วย   ถามว่า นาย ว. ทำอะไร
    นาย ว. มีรายได้ก็กินเที่ยวบ้าง  แต่ไม่เคยช่วย นางป. ส่งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเรียน ลูกเลย
    ( อันนี้ นาง ป. ได้มาปรึกษาปรับทุกข์กับดิฉันที่เป็นพี่สาวมาตลอดตั้งแต่หลังแต่งงาน )
    ตอนนี้เขาอยู่กินกันมาประมาณ 12-13 ปี แล้วค่ะ    พฤติกรรมนาย ว. เขาจะไม่เอาพี่เอาน้อง
    ของทางภรรยาเลย  คือไม่ไปมาหาสู่  เรียกว่าเป็น ศูนย์ ค่ะ     แต่ทางพี่น้องเขา พี่ชาย 3 คน
    น้องสาว 1 คน   แม่ 1 คน    เขาจะเช้าถึงเย็นถึงกัน   ( อันนี้ทางครอบครัวพ่อแม่ดิฉันไม่ว่าค่ะ
    เพราะแม่บอกดิฉันทุกครั้งว่าไม่เป็นไร ขอให้ลูกมีความสุขก็พอ) 
    ปัญหาเริ่มเกิด   เมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ เขาเริ่มมีปัญหากัน เพราะฝ่ายชายเริ่มมีตำแหน่งงาน
    เป็น ผจก. มีรายได้มากขึ้น  (แต่ คชจ.ในบ้านไม่ได้จ่ายแม้แต่บาทเดียว  นาง ป. ยังจ่ายเพียงคนเดียว)
    ไม่รับฟังภรรยา  คือข่มเมียตลอด   (ทางพ่อแม่ดิฉันก็ทราบปัญหานี้มาแต่แรกแล้วค่ะว่าน้องยอมสามีทุกอย่าง)
    เขาก็เริ่มไม่ค่อยมีการคุยกันอย่างผัวเมียทั่ว ๆ ไป  เรื่องบนเตียงก็ไม่มีความสัมพันธ์กันมา 2-3 ปี เช่นกัน
    แต่อยู่บ้านเดียวกัน (บ้านที่ นาง ป. ซื้อ โดยที่ดิฉันเป็นคนจ่ายเงินดาวน์ให้ทุกบาททุกสตางค์ เพราะรักน้อง)
    ซึ่งตอนนี้เหมือต่างคนต่างอยู่เพื่อลูกกันแล้ว    แล้วเรื่องก็เกิดตรงที่ นาง ป. เขาก็เริ่มกลับไปหาเพื่อน ๆ เก่า
    สมัยเรียน และก็ไปพบเจอกับแฟนเก่าสมัยเป็นนักเรียน (สมมติให้ชือ นาย ด.)  ซึ่ง นาย ด. คนนี้ตอนสมัยเรียน
    เขาเคยให้พ่อแม่เขาทาบทามสู่ขอ นาง ป. ไว้ก่อน  แต่พ่อแม่ดิฉันยังไม่คุยด้วย
    โดยให้เหตุผลว่าเด็กยังเรียนไม่จบ ขอให้เขาเรียนจบ แล้วมีการมีงานทำแล้วค่อยมาคุยกัน  
    สรุปแล้วก็จบกันไป  พอต่างคนเริ่มแยกย้ายเรียนก็ห่างกันไป    แต่พอเขามาเจอกันและเริ่มปรับทุกข์ สุข กัน
    ถ่านไฟเก่าก็คุ  ประกอบกับทาง นาง ป. เริ่มมีปัญหากับนาย ว. อยู่ด้วย    สรุปคือ นาง ป. กับ นาย ด. มีสัมพันธื
    ลึกซื้งกันแล้ว ณ.ตอนนี้   และเรื่องนี้  นาง ป. ก็คุยให้นาย ว. ฟังแล้วว่าเหตุการเป็นอย่างไง   ถ้ายังอยู่กันไปก็
    ไม่มีความสุข  จึงคุยขอหย่า  ( ก่อนหน้านี้ก็มีการพูดเรื่องหย่ากันมาบ้างแล้ว ) และคุยตกลงกันว่าจะหย่ากันสิ้นปีนี้
    นาง ป. ก็ได้ออกไปเช่าบ้านอยู่  ส่วนนาย ว. ก็อยู่กับลูกที่บ้าน    โดยนาง ป. ก็ยังคงต้องจ่ายค่าบ้าน  ค่าลูกกิน
    ค่าเทอม ค่ารถโรงเรียน (คชจ.ทุกอย่าง)  ยกเว้นค่ารถ ที่ปัดไปให้นาย ว.จ่าย
    ปัญหาตอนนี้คือ  นาย ว. เขาโทรบอก นาง ป. ว่าเขาเงินไม่พอใช้ให้ส่งเงินให้เขาด้วย    เขาเป็นหนี้บัตรเครดิต
    อยู่ 60,000 (หลังจากที่แยกกันอยู่นี้)  ให้จ่ายให้ด้วย       นางป. ก็ยอมโอนเงินให้เพื่อรอสิ้นปีนี้จะได้หย่าให้จบ
    แต่ตอนนี้นาย ว. กลับคำ บอกว่าจะไม่หย่าให้
    คำถามที่อยากเรียนถามอาจารย์ค่ะ
    1. สินเดิม (แม่ยกให้)   สามารถเขียนพินัยกรรมให้กับพี่สาว (คือดิฉัน) ได้ใช่ไม๊ค่ะ ซึ่งพินัยกรรมนั้นพอทราบว่า
    สามารถเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับได้ โดยไม่ต้องมีพยาน     อยากถามว่าถูกต้องหรือไม่  ขอคำแนะนำ
    ว่าควรเขียนระบุอย่างไรจึงจะไม่มีปัญหาภายหลัง
    2. บ้าน และรถยนต์ ( ที่ซื้อโดยนาง ป. คนเดียว ) เป็นสินสมรส ใช่ไม๊ค่ะ     อันนี้  ถ้าหย่ากัน ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง 
    ดิฉันเข้าใจถูกต้องไม๊ค่ะ
    3. ตอนนี้ นางป.ทำงานอยู่กับ บ.เอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีสวัสดิการหลายอย่าง      นาง ป. ได้เขียนพินัยกรรมให้ไว้กับ
    บริษัท (เป็นข้อบังคับของบริษัท)  ซึ่ง นางป. เขียนยกส่วนสิทธิ์ที่พึงได้รับจาก บริษัทฯ  ให้กับ ดิฉัน 50%
    ลูก 2 คน คนละ 25%
    ดิฉันอยากถามว่า  ส่วนสิทธิที่ นาง ป. มีอยู่กับ บริษัท นี้ ถือว่าเป็นสินสมรถ หรือไม่    นาย ว. มีสิทธิ์ เพียงใด
    สมมุติว่า นาง ป.ตายลง  ทาง บริษัทฯ เขาก็ต้องทำตามพินัยกรรมกำหนด  ข้อนี้ นาย ว. มีสิทธิ์จะดำเนินการ
    อื่นๆ อย่างใดได้อีกหรือไม่
    4. ตอนนี้ นาย ว. ยังให้ นาง ป.จ่ายเงินให้อยู่บ่อย ๆ ( เหมือนกับเรียกร้องในฐานะที่นางป.ไปมีผุ้ชายคนใหม่หรือชู้)
    กรณีนี้ ถ้านาย ว. ไม่ยอมหย่าแต่โดยดี   นาง ป. ควรต้องทำอย่างไรได้บ้างเกี่ยวกับการหย่า
    (ต้องการให้จบกันด้วยดี เพราะนางป. รักลูกมาก ที่ผ่านมา นาย ว. ไม่ให้ลูกพบเจอกับแม่ เอาเงินอย่างเดียว)
    5. อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์เกียวกับจะต้องดำเนินการอย่างไรเกียวกับการหย่า

    ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

     

     

    คำตอบ

    1. เขียนน่ะเขียนได้  แต่ไม่มีหลักประกันว่าจะได้ตามนั้น เพราะพินัยกรรมเมื่อเขียนแล้ว  เจ้าตัวเขาก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

    2. ถูกต้อง

    3. ขึ้นอยู่กับว่าสิทธิอะไร ถ้าเป็นเงินสะสม ก็เป็นสินสมรส แต่ถ้าเป็นเงินประกันชีวิต ก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าตัวเขาจะระบุให้ใคร เพราะไม่ใช่มรดก เป็นสิทธิที่จะได้มาภายหลังจากการตาย

    4. ทางที่ดีก็อย่าไปจ่าย  ให้ตกลงกันให้แน่นอนว่าจะเอาเงินเท่าไร เมื่อตกลงได้แล้วก็นัดไปที่อำเภอ เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้วจึงค่อยให้  อย่าไปหวังว่าเมื่อให้แล้วเขาจะไปจดทะเบียนหย่าตามที่รับปาก คนมีนิสัยสอย่างนั้น ไม่รักษาคำพูดหรอก

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กันยายน 2557