ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014551 คดีล้มละลายลูกสาว21 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    คดีล้มละลาย

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

                พ่อและแม่ของดิฉันถูกยื่นฟ้องล้มละลายค่ะ

    เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2539 แม่ของดิฉัน (ลูกหนี้ที่1) ได้ทำการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินมาใช้ในการทำธุรกิจผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแห้ง เป็นจำนวนเงิน 5,500,000 บาท โดยนำที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เรื่องจักรอุปกรณ์ เป็นหลักประกันในการกู้เงิน แต่หลักประกันไม่พอ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จึ้งเข้ามาคำประกันเงินกู้ให้ เป็นจำนวนเงิน 1,100,000 บาท โดยมีพ่อซึ่งประกอบอาชีพข้าราชการ (ลูกหนี้ที่2) และลุง (ลูกหนี้ที่3) เป็นผู้คำประกันเงินจำนวนนี้ แต่เนื่องด้วยวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนั้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจแม่ด้วย ทำให้ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ จึงจำเป็นต้องผิดนัดการชำระหนี้  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ จึงได้ฟ้องคดีต่อศาลจนคดีถึงที่สุด และเมื่อเป็นไปตามข้อกำหนด บสย. จึงได้จ่ายเงินตามภาระค้ำประกันให้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ เป็นจำนวนเงิน 1,798,699 บาท  และทาง บสย. ได้ทวงหนี้และแม่ดิฉันก็ได้ผ่อนส่งไปเป็นจำนวนหนึ่งแต่ไม่ไหวจึงได้เข้าทำการประนอมหนี้กับ บสย.  และได้ชำระตามข้อตกลงแต่สุดท้ายก็ไม่มีความสามารถพอที่จะชำระหนี้อยู่ดี เพราะการเงินของครอบครัวเราย่ำแย่มาก โดยจำเป็นต้องพึ่งพาเงินเดือนของพ่อใช้จ่ายรับภาระด้านการศึกษาของลูก (สามคน) โดยท้ายที่สุด บสย.ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโดยขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ แม่ พ่อ และลุง อย่างเด็ดขาด และขอให้พิพากษาให้ทั้งสามคนเป็นบุคคลล้มละลาย จากเรื่องนี้ดิฉันมีคำถามรบกวนถามอาจารย์ดังนี้

               1. เราสามารถขอให้มีการประนอมหนี้ในวันพิจารณาคดีได้หรือไม่ค่ะ

               2. หากถูกตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย พ่อ ต้องออกจากราชการทันทีหรือไม่ค่ะ

               3. ขณะต้องคดีแต่ยังไม่ถูกตัดสินล้มละลายหากพ่อต้องการลาออกจะทำได้หรือไม่ค่ะ

               4. หากล้มละลายจะมีผลอย่างไรต่อ เงิน บำเหน็จ หรือ บำนาญของพ่อค่ะ

               5. แม่ ได้ทำประกันสุขภาพเอาไว้เพราะแม่สุขภาพไม่ดีมากๆ สามารถเบิกค่ารักษาได้ และหากมีการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็จะได้รับเงินชดเชย วันละ 5000 บาท ถ้าล้มละลายแม่ยังมีสิทธิในการประกันชีวิตไหมค่ะ 

                6. ดิฉันและน้องคนรอง กำลังจะสำเร็จการศึกษา ในอีก 1 และ2 ปีตามลำดับ และมีความประสงค์จะนำรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับมาช่วยผ่อนชำระหนี้ให้แก่พ่อและแม่ และขอให้ศาลยืดการพิจารณาล้มละลายออกไปอีก ศาลจะฟังเหตุผลของเรามั้ยค่ะ

                                                                                              ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

                                                                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                                                                                        ลูกสาว

    คำตอบ

    เรียน ลูกสาว

         1. การประนอมหนี้ย่อมทำได้เสมอถ้าเจ้าหนี้เขายินยอม

         2. ต้องออกจากราชการเพราะจะขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการ

        3. ทำได้

        4. ไม่มีผล เว้นแต่เป็นกรณีกระทำการทุจริตจนได้ชื่อว่าเป็นผู้ล้มละลายทุจริต ถ้ากำลังรับบำนาญอยู่ก็จะถูกงดบำนาญ

         5. ยังคงมีสิทธิตามกรมธรรม์ต่อไป เว้นแต่ยังชำระเบี้ยประกันไม่ครบ ก็อาจมีผลกระทบได้เพราะจะมีปัญหาเรื่องการชำระเบี้ยประกันต่อไป

        6.  เจ้าหนี้เขาคงไม่ยอม

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 กรกฎาคม 2548