ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016405 กำลังฟังคำพิพากษาคนไทย19 มีนาคม 2549

    คำถาม
    กำลังฟังคำพิพากษา

    สวัสดีครับอาจารย์ เมื่อประมาณปี38ผมได้เคยช่วยพี่คนนึงกู้ธนาคารโดยเอาตัวเองเป็นผู้กู้หลังจากนั้นธนาคารฟ้องผมกับภารยาซึ่งเธอไม่มีส่วนรู้เห็นและเมื่อวานผมได้รับหมายไปฟังคำพิพากษาเดือนหน้าให้เป็นคนล้มละลายผมขอถามอาจารย์ดังนี้นะครับ

    1 ภรรยาผมจะต้องเป็นคนล้มละลายด้วยหรือไม่

    2 ผมรีบไปหย่ากับภรรยาตอนนี้เลยจะดีมั๊ยครับ

    3ผมมีทรัพย์สินร่วมกับคุณแม่และน้องก็คือบ้านที่อยู่ของผมเองจะถูกขายทอดตลาดด้วยหรือไม่ครับ

    4ผมทำงานอยู่บริษัทเอกชนเงินเดือน38000บาท ทางเจ้าหน้าที่เค้าจะแบ่งไปให้เจ้าหนี้ประมาณเท่าไหร่ครับผมกลัวว่าครอบครัวผมจะเดือดร้อนเพราะต้องดูแลลูกอีกสองคนภรรยาก็ไม่มีรายได้

     ขอถามแค่นี้ครับผมเครียดมากถ้าไม่มีลูกผมคงสู้ใหม่ชาติหน้าแน่

    คำตอบ

    เรียน คนไทย

         1. ถ้าคุณได้นำภรรยาไปค้ำประกันและถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายด้วยกัน ภรรยาของคุณก็มีโอกาสที่จะเป็นคนล้มละลายด้วย

         2. หย่าแล้วจะได้ประโยชน์อะไรล่ะในเมื่อถูกฟ้องจนศาลจะตัดสินแล้ว

         3. เจ้าหนี้เขาก็มายึดเอาได้เฉพาะส่วนที่เป็นของคุณ ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เขาก็ขายทอดตลาดแล้วเอาเฉพาะส่วนของคุณไปชำระหนี้ เว้นแต่เจ้าของร่วมคนอื่น ๆ จะยอมออกเงินส่วนของคุณให้เจ้าหนี้ไป เช่น บ้านราคาสามแสน ทั้งสามคนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน ซึ่งก็แปลว่าแต่ละคนมีสิทธิอยู่ในบ้านคนละ ๑ แสน ถ้าอีก ๒ คน เขาหาเงิน ๑ แสนมาให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็คงไม่จำเป็นต้องยึดบ้านไปขายทอดตลาด

          4. เมื่อเป็นคนล้มละลายแล้ว รายได้ก็จะถูกกันไปชำระหนี้ คงเหลือให้เท่าจำนวนที่ศาลเห็นว่าจะพอเพียงแก่การยังชีพ ส่วนจะเป็นเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับศาล

           จากคำถามของคุณแสดงให้เห็นว่า คุณเองก็คงไม่ได้นึกว่าเป็นเรื่องหนักหนาอะไรในการไปช่วยเหลือคนอื่นโดยการช่วยกู้เงินให้ในนามของคุณเอง  ยิ่งคนที่คุณช่วยเขานั้น เขายิ่งมองไม่เห็นความสำคัญอะไร  จึงเป็นบทเรียนราคาแพง ที่ควรจดจำและบอกเล่ากันต่อ ๆ ไปว่า การเข้าไปกู้หนี้ยืมสินแทนคนอื่นก็ดี การค้ำประกันคนอื่นก็ดี ล้วนแต่เป็นหนทางไปสู่ความหายนะและความเจ็บช้ำทั้งสิ้น

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 มีนาคม 2549