ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017055 ถูกฟ้องล้มละลายเพราะไว้วางใจคนสวัสดิ์1 มิถุนายน 2549

    คำถาม
    ถูกฟ้องล้มละลายเพราะไว้วางใจคน

    กราบเรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ...

    ผมขอความกรุณาท่านอาจารย์  ได้โปรดแนะนำด้วยครับ...คือว่า  เมื่อปีพ.ศ.2536 ผมได้ร่วมหุ้นกับเพื่อนและคู่เขย รวมกัน 4 คน  ตั้งบริษัททำธุรกิจกัน  มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน,อาคาร,เครื่องจักร.  โดยได้กู้เงินจาก ธนาคาร และทางธนาคาร ได้ให้ ผมเป็นหนึ่งในผู้ค้ำประกันด้วย  ปรากฎว่า กิจการมีปัญหา  ขาดทุน   ดังนั้น  ในปี2539 ทางผู้ร่วมหุ้นทั้ง 4 คน  ได้มีการตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน,อาคาร,เครื่องจักรดังกล่าว  โดยบริษัท  ขายให้แก่หุ้นส่วน 2 คน โดยผมกับเพื่อนผม  ขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการบริษัท  โดยในสัญญาได้ระบุให้ทางหุ้นส่วนทั้ง 2 คน ที่รับซื้อไปนั้น  รับภาระหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่  

    ผมได้ทำหนังสือขอยกเลิกเพิกถอนการค้ำประกันกับ ธนาคาร ไปแล้ว  โดยมีเลขที่รับเรื่องของธนาคารอย่างที่ถูกต้อง   (แต่คาดว่า ธนาคารไม่ได้จดยกเลิกให้)

    เมื่อหุ้นส่วนทั้ง 2 คนที่เป็นผู้ซื้อบริษัทไป  ได้ไปจดเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโดยนำภรรยาของทั้งคู่มาเป็นกรรมการ  (บริษัทใหม่ มีกรรมการ 4 คนเช่นเดิม)ก็ได้ดำเนินกิจการต่อมา  แต่ก็ขาดทุน 

    ทางธนาคารเจ้าหนี้  จึงฟ้องต่อศาลแพ่งให้ลูกหนี้ทั้งหมดชำระหนี้  ผมโดนฟ้องเป็นลูกหนี้ด้วย (ผู้ค้ำประกัน)   ผมจึงได้สอบถามไปทางหุ้นส่วนคนที่เป็นญาติกัน ก็ได้คำตอบมาว่า ให้ผมอยู่เฉยๆ  ทางทนายความของเค้าจะเป็นตัวแทนจัดการให้เอง  (เหมือนกับการทำเรื่องขอถอนการค้ำประกัน  ก็ให้ทนายความของเค้าทำให้เช่นกัน  เพราะเป็นทนายความของบริษัทด้วย )

    ผมก็ไม่ได้ติดตามเรื่องราวทางคดีแต่อย่างไร และผมก็ไม่ได้รับหมายด้วยตัวเอง เพราะว่าย้ายที่อยู่  ทราบภายหลังว่า มีหมายศาลมาติดไว้ที่หน้าบ้านเดิม   จนมาบัดนี้  พ.ค.2549 ผมได้รับหมายเรียกคดีล้มละลาย ให้ไปที่ศาลในเดือนกรกฎาคมนี้  โดยทางธนาคารได้ฟ้องบริษัทฯและกรรมการชุดเดิม(4 คน) ที่เป็นผู้ค้ำประกัน  เป็นลูกหนี้  ให้เป้นผู้ล้มละลาย  และขอให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

    ในหมายเรียกได้อธิบายความว่า ศาลแพ่งได้ตัดสินคดีสิ้นสุดแล้ว  โดยที่ลูกหนี้ที่ 1 คือบริษัทฯใหม่  และลูกหนี้ที่ 5 คือผม  ไม่สืบพยาน 

    ท่านอาจารย์ครับ  ผมทุกข์ใจเป็นอย่างมากครับ  เพราะผมทำงานกินเงินเดือน  ไม่มีปัญญาไปชำระหนี้ตามฟ้องได้แน่  (ประมาณ 56 ล้าน)  เงืนสะสมที่มีอยู่ ก็นำไปหุ้นตั้งบริษัท  จนหมดสิ้นแล้วครับ   มีภรรยาที่เป็นพนักงานกินเงินเดือนและมีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องเลี้ยงดู  ผมจะมีทางออกอย่างไรบ้างครับ??

    ขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ดังนี้ครับ..

    1.เมื่อศาลแพ่งตัดสินคดีไปแล้ว  เมื่อเดือนมกราคม 2546  โดยที่ผมไม่ได้ไปสืบพยาน    เวลานี้  ผมจะไปยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาใหม่ได้หรือไม่  ยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ครับ  เพราะผมจะได้นำหลักฐานการซื้อขายหุ้นบริษัท  และหนังสือขอยกเลิกเพิกถอนการค้ำประกัน  เสนอให้ศาล  เพื่อพิจารณาใหม่  ว่า ผมไม่ใช่ลูกหนี้ที่ต้องร่วมรับผิดแล้ว

    2.หรือหาก ในวันนัดของศาลล้มละลาย  ผมจะนำเอกสารดังกล่าว  ไปขอสู้คดีได้หรือไม่ครับ   สู้คดีว่า ผมกับหุ้นส่วนอีกคน  ได้ขายหุ้นให้ไปแล้ว  และได้ส่งเอกสารขอยกเลิกการเป็นผุ้ค้ำประกันแล้ว  และทางธนาคารก็ได้รับเรื่องแล้ว  โดยเป้นการซื้อขายกันด้วยความสุจริต    ผมจะสู้คดีนี้ได้หรือไม่ครับ  เพราะผมไม่แน่ใจแล้วว่า ทางคู่เขยที่เป็นญาติกับผม  จะยอมเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เพราะที่ผ่านมาเค้าไม่ไปสืบพยานในศาลแพ่งเช่นกัน 

    3.ขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ด้วยครับว่า  ผมยังมีทางออกอย่างอื่นใดหรือไม่ครับ

    กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณสวัสดิ์

       1. ถ้ามีเหตุผลก็อาจร้องขอให้พิจารณาคดัใหม่ได้ แต่ถึงจะพิจารณาใหม่ ก็ไม่น่าจะเกิดผลอะไร เพราะการเป็นผู้ค้ำประกันนั้นผูกพันจนกว่าจชำระหนี้เสร็จ การทื่คุณบอกเพิกถอนการค้ำประกันนั้นไม่มีผลอะไร เพราะถ้าเจ้าหนี้เขาไม่ยินยอมด้วย ความผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันก็ยังมีอยู่  อันที่จริงเรื่องผลแห่งการค้าประกันนั้น ในคอลัมภ์นี้ได้ตอบมาอาจจะเป็นร้อยคำถามก็ได้ แต่ละครั้งก็ได้เตือนให้รู้ถึงผลร้ายของการเป็นผู้ค้ำประกัน  แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยอ่าน จะเข้ามาถามคำถามก็ต่อเมื่อมีปัญหากับตัวเอง ความรู้ที่จะพึงได้รับก็เลยไม่ได้  เรื่องของกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่เป็นเทคนิค ไม่ใช่เรื่องของสามัญสำนึกเสมอไป  คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจนอกจากจะไม่ยอมใช้ผู้รู้แล้วยังไม่ค่อยจะหาความรู้ 

         2. การขายหุ้นไปแล้ว มีผลเพียงว่า ถ้าเมื่อไรคุณชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แล้ว คุณก็ไปไล่เบี้ยเอากับหุ้นส่วนเหล่านั้นได้เท่านั้น แต่จะไปปฏิเสธหนี้นั้นกับเจ้าหนี้ไม่ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 มิถุนายน 2549