ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    020555 ควรจดทะเบียนหย่าหรือไม่สุวรรณา11 กุมภาพันธ์ 2550

    คำถาม
    ควรจดทะเบียนหย่าหรือไม่

    เรียน  อาจารย์มีชัย  ดิฉันของราบเรียนถามดังนี้

    1. ดิฉันถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 47 ถึงบัดนี้ศาลยังไม่สั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ฟ้องล้มเพราะเคยเป็นกรรมการร่วมกู้เงินมาในนามบริษัทฯและลาออกแล้ว บริษัทเลิก กรรมการปัจจุบันเสียชีวิต  ถามว่าเมื่อไรจะมีคำสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย  และหากมีคำสั่งแล้ว จะนับจากวันไหนที่ปลดจากเป็นบุคคลล้มละลาย

    2. เคยอ่านกฎหมายการสมรส ว่าหากฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินที่หามาได้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของอีกฝ่ายใช่หรือไม่

    3.สามีรับราชการ แต่งงานจดทะเบียน  ใครๆ ก็บอกว่าให้หย่า แต่สามีไม่ยอมหย่า ดิฉันเกรงว่าจะกระทบหน้าที่การงานของสามี และ หากจะมีทรัพย์สินบ้างก็อยากทำไว้ให้ลูก   ดิฉันควรจะหย่ากับสามีหรือไม่เพื่ออนาคตของลูกและสามี

    คำตอบ

    1. การนับวันล้มละลายนับจากวันที่ศาลสั่งให้ล้มละลาย ส่วนเมื่อไรศาลจึงจะมีคำสั่งให้ล้มละลายนั้นตอบไม่ได้ ต้องไปดูว่ากระบวนการอยู่ในขั้นใดแล้ว

    2. เมื่อฝ่ายหนึ่งล้มละลาย ทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสย่อมถูกแยกกันโดยผลของกฎหมาย และทรัพย์สินที่ใครได้มาในระหว่างนั้นก็เป็นสินส่วนตัวยของฝ่ายนั้น

    3. หย่าหรือไม่หย่าก็มีผลเท่ากัน

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กุมภาพันธ์ 2550