ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    021095 อะไรบ้างที่จะไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์สงสัย24 มีนาคม 2550

    คำถาม
    อะไรบ้างที่จะไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์

    เรียน..ท่าน..

          ผมกำลังจะต้องขึ้นศาลเพื่อสืบจำเลย.เดือนหน้า.เพื่อพิทักษ์ทรัพย์  คดีล้มละลาย.. ทนายของผมทีแรกบอกว่า จะประวิงเวลาให้ เพื่อตัดสินใจ..ว่าจะปรานีประนอมใด้หรือไม่..พอใกล้วันขึ้นศาล..ทนายบอกว่าคงจะพลัด  เพื่อเจรจาไม่ใด้แล้ว ผมเองก็เลย  งง.

    ขอเรียนถาม..ท่าน  อ.มีชัยครับ

       1.ผมมีที่ดิน... ภบท.5 จะโอนใช้หนี้ใด้ไหม  หรือเก็บใว้ให้ลูกใด้. หรือทำประโยชน์ใดๆ ที่จะใว้ทำกิน..ที่จะไม่โดนพิทักษ์ทรัพย์.

       2.ผมมีสิทธิการเช่าของ  สนง.ส่วนพระมหากษัยติร์  3ปี ต่อครั้ง มีหลายคนร่วมสิทธิการเช่า  และมีรายใด้จากการให้เช่า จะมีผลอย่างไรครับ  ถ้าผมถูกพิทักษ์...ผมจะเอาสิทธิตรงนี้โอนไปใช้หนี้ใด้ให้แม่ก่อนได้ไหม เพราะเป็นหนี้แม่อยู่มาก...ก่อนล้ม..

      3.เจรจากับ บรส. ก็บ่ายเบี่ยง..ผมถามว่าจะผ่อนจ่ายได้เท่าไร.ก็ไม่ชัดเจนในตัวเลข  .พอตั้งหลัก  กลับมาคิด..ว่าเท่านี้ใด้ไหม....    กลับไปใหม่ก็เรื่องใหมที่ ผ่อนไม่ไหว..แล้ว.

      4.ผมคงจะคิดไปเองว่า  กม.เอื้ออำนวยให้นาย  ธ.นา.คาร

                                   กราบขอบพระคุณท่าน  อ.มีชัย.ครับ

    คำตอบ

    เรียน สงสัย

         คำถามไม่ชัดเจน  ได้แต่ตอบรวม ๆ ว่า เจ้าหนี้ย่อมติดตามทรัพย์และสิทธิที่มีมูลค่าของลูกหนี้ทั้งหมด เพื่อนำมาขายทอดตลาดเอาเงินไปชำระหนี้ได้เสมอ ยกเว้นทรัพย์สินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นของใช้ประจำวัน เช่น ที่นอนหมอนมุ้ง เครื่องครัว เป็นต้น

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 มีนาคม 2550