ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045742 ครอบครองที่ดินจัน5 ตุลาคม 2554

    คำถาม
    ครอบครองที่ดิน
    ตาไม่ยอมแบ่งที่ดินให้ลูกทั้ง 5 คน แต่ใครไม่มีที่ทำกินให้มาทำได้ แม่ไปขอที่ดิน ตาให้มา11ไร่จาก45ไร่ น้าอีก 2คน ก็ทำไร่ แต่อีก 2คน แต่งงานแล้วไปค้าขายที่อื่น ต่อมาตาตายไปประมาณ 5 ปี ป้าก็มาบอกว่าให้ไปเซ็นรับโอนมรดกถ้าไม่ไปอาจตกเป็นของหลวง พีน้องทั้งหมดก็ไปเซ็นต์ แต่แบ่งที่กันไม่ได้เพราะแม่ไม่ยอมบอกว่าถ้าอยากแบ่งก็ไปแบ่งในส่วนที่เหลือกัน จะมาแบ่งที่ดินของแม่แม่ไม่ยอม เป็นอันว่าแบ่งไม่ได้ ต่อมาอีก 5ปี ป้ากลับมาอีกจะขอแบ่งที่ดินเท่าๆกันถ้าไม่ยอมจะฟ้อง แม่จะสู้ในฐานนะครอบครองที่ดินมานานถึง 40 ปีจะชนะมั๊ยคะหรือว่ามีทางออกทางอื่นที่ดีกว่านี้มั๊ยคะ ตอนนี้แม่ตรอมใจ รับไม่ได้กับการต้องสูญเสียที่ดิน เพราะยังต้องทำกิน และมีลูกที่ต้องทำกินบนที่ดินนี้ต่อไป เสียดายที่ดินที่ต้องเสียไป พวกป้าๆน้าๆเขาจะเอาไปขายกัน
    คำตอบ
    ในเวลาที่เป็นคดีฟ้องร้องกันนั้น การชนะหรือแพ้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องราวแต่เพียงอย่างเดียว การดำเนินคดีในศาล วิธีการต่อสู้คดีและพยานหลักฐาน ก็เป็นเหตุให้แพ้หรือชนะกันได้ จึงไม่อาจยืนยันได้ว่าจะแพ้หรือชนะ  แต่การเป็นความกันนั้นคงต้องจ้างทนายความ และเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย บางทีกว่าจะชนะก็เป็นหนี้เป็นสินจนแทบไม่เหลืออะไร   ดังนั้นถ้าตกลงกันได้ว่าจะแบ่งที่ดินเท่า ๆ กัน ก็จะได้คนละ ๙ ไร่ แปลว่าแม่คุณเสียที่ดินไปเพียง ๒ ไร่ โดยไม่ต้องไปสู้คดีในศาล บางทีอาจจะได้กำไรก็ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 ตุลาคม 2554