ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049633 ความแตกต่างระหว่างการอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการล้างมลทินธราดล6 ตุลาคม 2556

    คำถาม
    ความแตกต่างระหว่างการอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพครับ ผมอยากทราบว่าการอภัยโทษ การนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน ความหมายที่แท้จริงมันคืออะไร มีความต่างกันอย่างไรในแง่ของผู้มีอำนาจออกกฎหมาย วัตถุประสงค์ ผลของกฎหมาย และขั้นตอนของกฎหมายบ้างครับ

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    คำตอบ

    การอภัยโทษ คือ การให้อภัยให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษ ซึ่งอาจเป็นการให้อภัยเฉพาะตัว โดยการขอพระราชทานอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์ หรือฝ่ายบริหารตราพระราชกฤษฎีกาเพื่ออภัยโทษให้แก่คนทั่วไปที่กำลังรับโทษอยู่  ในการอภัยโทษนั้นอาจจะยกโทษให้หมดเลย หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้เหลือน้อยลงก็ได้

    การนิรโทษกรรม คือการ กำหนดให้สิ่งที่เป็นความผิด ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในทางอาญาหรือในทางแพ่ง หรือทั้งทางอาญาและทางแพ่ง  การนิรโทษกรรมต้องออกเป็นกฎหมาย ส่วนจะออกเป็นพระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติก็สุดแต่สถานะการณ์  ถ้าในยามไม่ปกติก็อาจนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้

    การล้างมลทิน คือ การลบล้างโทษที่บุคคลได้รับมาครบถ้วนแล้ว ให้หมดมลทิน เท่ากับไม่เคยได้รับโทษนั้น ๆ มาก่อนเลย  แต่ไม่ได้ล้างการกระทำที่เป็นความผิด  เช่น เคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดฐานค้ายาเสพติด และให้ลงโทษจำคุก ๓ ปี  เมื่อพ้นโทษแล้ว  หากมีกฎหมายล้างมลทินออกมาในภายหลัง ก็ทำให้คนนั้นหมดมลทินที่เคยได้รับโทษจำคุกมา  แต่ความผิดที่เคยกระทำก็ยังคงได้ชื่อว่าเคยกระทำความผิดอยู่นั่นเอง  การล้างมลทินต้องทำเป็นกฎหมาย

         ส่วนขั้นตอนในการออกกฎหมายนั้น ลองไปศึกษาค้นคว้าจากเว็บของรัฐสภา เขาคงมีอธิบายไว้หรอก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 ตุลาคม 2556